กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและ โรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 61-L5162-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 27,425.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฐิตาภา โนภาส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งในอวัยวะต่างๆ ฯลฯ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย จิตใจ และสังคม และก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งเวลา เศรษฐกิจ และบางครั้งอาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต การได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพอย่างต่อเนื่องของประชาชนเพื่อค้นหาความเสี่ยงและภาวการณ์เจ็บป่วย เป็นอีกกลวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ทราบถึงสถานะด้านสุขภาพที่แท้จริงของประชาชน และช่วยในการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาความเจ็บป่วยของประชาชนตามนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรคมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพระยะยาวโดยนำกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค โดยเน้นการจัดการบริการเชิงรุก       จากข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ พบว่า ปี 2558-2560 ตำบลกระแสสินธุ์  มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้น จำนวน  9, 4 และ 6 คน ตามลำดับ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้น จำนวน 14, 6 และ 9 คนตามลำดับ ผลการคัดกรองภาวะเสี่ยงประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ปี 2558-2560 พบว่า ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 127, 217 และ 84 คนตามลำดับ มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 246, 197 และ 223 คนตามลำดับ สำหรับ ปี 2561 ได้คัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในผู้ที่มี อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,056 คน  พบว่า ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 52 คน มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 80 คน ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นความสำเร็จในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน เพื่อได้รับทราบภาวะสุขภาพของตนเองและมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม และการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนและการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการมีสุขภาพดี ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยง จึงได้จัดทำโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วนตำบลกระแสสินธุ์ ปี 2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาระบบบริการในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การดูแลรักษา และให้บริการที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้หมาย
  1. คลินิก DPAC และ NCD ในรพ./รพ.สต. ผ่านเกณฑ์คุณภาพ (>ร้อยละ 70)
  2. ผู้ป่วยDM/HT ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี (>ร้อยละ 60)
  3. ร้อยละของผู้ป่วย DM ที่ควบคุมระดับนาตาลในเลือดได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ผู้ป่วย HT ที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  4. ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการดูแลรักษาและส่งต่อทุกราย
0.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัว ลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคที่ป้องกันได้และโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคความดัน โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมองได้
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (>ร้อยละ 60)
  2. กลุ่มเสี่ยง DM/HT ที่เข้ารับการปรับเปลี่ยน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ (>ร้อยละ 30)
0.00
3 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน ในการดำเนินการเฝ้าระวัง และจัดการลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  1. มีหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯต้นแบบ(ระดับดีมากขึ้นไป) หมู่บ้านใหม่อย่างน้อยอำเภอละ 1 หมู่บ้าน
0.00
4 4. เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการมีสุขภาพดี โดยวิธีเพื่อนช่วยเพื่อนในชุมชน
  1. มีหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯต้นแบบ(ระดับดีมากขึ้นไป) หมู่บ้านใหม่อย่างน้อยอำเภอละ 1 หมู่บ้าน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงโดย จัดอบรมกลุ่มเสี่ยงตามเป้าหมาย เพื่อเรียนรู้การมีสุขภาพดี อ.อาหาร (งดหรือลด หวาน มัน เค็ม เพิ่ม ผัก ปลา ธัญพืช และผลไม้ที่ไม่หวานจัด) อ.ออกกำลังกาย (ออกกำลังกายทุกวันหรืออย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์) อ.อารมณ์ (รู้จักผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง) อ.อบายมุข (ลด / งด / เลิกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ / บุหรี่และสารเสพติด) อ.อ้วนลงพุง (ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คนอ้วนสามารถลดน้ำหนักและรอบเอวได้)
  3. จัดทำชุดเอกสารคู่มือสำหรับการเรียนรู้เพื่อการมีสุขภาพดี
  4. จัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้สุขภาพดี หมู่ละ 1 เครือข่าย ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน แกนนำผู้สูงอายุ
  5. คัดเลือกบุคคลต้นแบบในการลด การสี่ยงต่อโรค ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน หมู่บ้านละ 3 คน
  6. มอบของขวัญแก่บุคคลต้นแบบ

  7. ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพหลังอบรม 1 เดือน ,3 เดือน , 6 เดือน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเครือข่ายการเรียนรู้สุขภาพดี

  8. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจในพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม
  2. กลุ่มเสี่ยงสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปปฏิบัติเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงต่อโรค ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ของตนเองและบุคคลในครอบครัว
  3. จำนวนกลุ่มเสี่ยงลดลง กลับไปเป็นกลุ่มปกติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  4. มีเครือข่ายการเรียนรู้สุขภาพดีเกิดขึ้นในชุมชนและมีการติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2561 11:42 น.