กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างยั่งยืน
รหัสโครงการ 61-L5215-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเขารูปช้าง
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประกอบศักดิ์ สายวารี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.154,100.612place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 200,000.00
รวมงบประมาณ 200,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขยะคือสิ่งต่างๆ ที่ผู้คนไม่ต้องการและทิ้งมันไป ขยะมีมากมายหลายประเภท เช่น ขยะที่เป็น ทั้งของแข็ง ของเหลว ขยะที่ย่อยสลายได้และที่ย่อยสลายไม่ได้ ขยะที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ โดยสามารถแยกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่     - ขยะทั่วไป เช่น เศษผ้า, เศษวัสดุก่อสร้างที่ถูกทำลาย เศษผง ปูน ทราย อิฐ     - ขยะอินทรีย์ เช่น อาหาร พืช และผลิตภัณฑ์จากพืช ซากพืช ซากสัตว์ที่ยังไม่เน่าเปื่อย     - ขยะรีไซเคิล เช่น แก้ว พลาสติก กระป๋อง โลหะ ผ้าหรือสิ่งทอ แบตเตอรี่ เป็นต้น     - เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ทีวี จอภาพ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์     - ขยะอันตราย เช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟ สี สารเคมี กระป๋องสเปรย์ ปุ๋ย วัตถุระเบิด สารติดไฟ     - วัสดุใส่ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าเชื้อต่างๆ     ผลการสำรวจของชีวจิตโพลโครงการ 6 ที่ระบุว่า คนในสังคมไทยรู้ว่าขยะที่ทิ้งก่อให้เกิดโรค      แต่ไม่ทราบขยะนั้นส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อร่างกายถึงร้อยละ 92.3 โดยโรคภัยที่มาจากขยะ 4 อันดับแรก ได้แก่ ท้องร่วงท้องเสีย โรคภูมิแพ้ คลื่นไส้อาเจียน และปวดศีรษะ ตามลำดับ     การวิจัยดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียงแค่คนเก็บขยะเท่านั้นที่ติดเชื้อโรคจากขยะ แต่ยังคงรวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะและมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สกปรก      มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคได้ง่ายมากยิ่งขึ้น     นอกจากนี้ ขยะยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นมลพิษของน้ำ มลพิษของดิน และมลพิษของอากาศ เพราะขาดการเก็บรวบรวมและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี  ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของโลกเราได้โดยตรง ยกตัวอย่าง เช่น การเผาขยะ ก็จะเป็นมลพิษในอากาศ    เกิดแก๊สพิษต่างๆ และแก๊สเรือนกระจก เป็นผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

    ทางออกสำหรับเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เพียงการหาพื้นที่ฝังกลบขยะแห่งใหม่ หรือโรงงานเผาขยะรุ่นใหม่เท่านั้น หากในระยะยาวแล้ว “การหาวิธีลดปริมาณขยะ” โดยคำนึงถึงความจำเป็นที่จะต้อง ใช้สิ่งของเหล่านี้อย่างรู้คุณค่า และมองว่าขยะทุกชิ้นก็คือทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งของโลกเรา     ในพื้นที่ตำบลเขารูปช้างมีจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ 40,336 คน และประชากรแฝงอีกประมาณเท่าตัวมีอัตราการเกิดขยะมูลฝอย 35 - 40 ตันต่อวัน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อมในชุมชน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเขารูปช้าง จึงมีแนวคิดหาวิธีการลดปริมาณขยะในชุมชน ได้แก่ การให้ความรู้ การส่งเสริม และสนับสนุนด้านการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรคจากขยะมูลฝอย และลดปริมาณขยะในชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

21 ส.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมรณรงค์รักษ์ษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน 197,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมวางแผนในการดำเนินงานโครงการ
  2. เขียนและเสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  3. ขออนุมัติโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  4. แต่งตั้งคณะทำงาน
  5. ดำเนินงานตามโครงการ   - จัดประชุมคณะทำงาน และผู้นำชุมชน   - รณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการขยะ การลดปริมาณขยะ และการยกเลิกถังขยะ บางประเภทเพื่อลดการเกิดพาหะของโรคต่างๆ
  6. สรุปและประเมินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีการคัดแยกขยะ และมีการจัดการขยะแต่ละประเภท และสามารถใช้ประโยชน์ จากขยะมูลฝอย
  2. แต่ละชุมชนมีปริมาณขยะมูลฝอยลดลง สิ่งแวดล้อมดีขึ้นส่งผลต่อสุขภาพประชาชนดีขึ้น
  3. ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคต่างๆ เช่น อุจจาระร่วง โรคเกี่ยวกับยุงและแมลงเป็นพาหะนำโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2561 15:04 น.