กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย เด็กเล็กสุขภาพดี
รหัสโครงการ 61-L4153-3-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลาสมีแล
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 สิงหาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 27,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูรไอนี ยามู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.476,101.413place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ส.ค. 2561 31 ส.ค. 2561 27,525.00
รวมงบประมาณ 27,525.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อน หรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้เยาวชน(เด็กเล็ก)และผู้ปกครองมีความรู้ด้านอาหารปลอดภัยถือเป็นสิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกัน ให้กับประชาชนทราบ รวมถึงควรเน้นย้ำให้ประชาชนได้บริโภคอาหาร ปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผู้บริโภค ทำให้ได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปสะสมในร่างกาย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลาสมีแล ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย เด็กเล็กสุขภาพดีขึ้น เพื่อต้องการเน้นย้ำให้ผู้ปกครองของศูนย์เด็กเล็ก ใส่ใจในการเตรียมอาหารให้ปลอดภัย ปลอดสารพิษและมีคุณประโยชน์แก่ลูกน้อยให้เหมาะสมตามวัย โดยสามารถเริ่มได้เองตั้งแต่ที่บ้าน เพราะเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถพิจารณาเลือกกินอาหารตามความต้องการของตนเองได้ ผู้ปกครองจึงควรทำหน้าที่คัดเลือกอาหารที่ดีมีประโยชน์เพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่า ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านร่างกายและสติปัญญาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,525.00 2 27,525.00
30 ส.ค. 61 กิจกรรมปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ 0 0.00 13,000.00
31 ส.ค. 61 กิจกรรมอาหารท้องถิ่นปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ 0 14,525.00 14,525.00

แนวทางการดำเนินงาน แบ่งเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้ 1. กิจกรรมปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ 2. กิจกรรมอาหารท้องถิ่นปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ

มีกลวิธีดำเนินงานอยู่ ๔ ขั้นตอน ดังนี้คือ           - สร้างเครือข่ายพหุภาคีในการทำงาน ๑. ประสานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการทำงาน ภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงาน โดยเน้นสร้างการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานทุกภาคส่วน ๒. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานดำเนินงานโครงการ ๓. จัดประชุมคณะกรรมการคณะทำงานร่วมวางแผนงานการดำเนินงานร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ สภาพปัญหา
          - การประกันคุณภาพในการทำงาน ๑. กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบตามแผนงาน/โครงการ อย่างชัดเจน ๒. ประสานและสนับสนุนให้เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการทำงาน มีส่วนร่วมในการควบคุมกำกับ และติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน

  • การสร้างความยั่งยืน ๑. ผลักดันให้เครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการทำงาน ภายในหน่วยงาน และภายนอกหน่วยงาน สนับสนุนให้มีการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กต้นแบบอาหารปลอดภัย ปลอดโรค ๒. สนับสนุนให้มีการจัดตั้งชมรมต่างๆในการทำงาน เช่น ชมรมผู้ปกครองร่วมใจพัฒนา ชมรมสายสืบอาหาร ชมรม อย.น้อย เป็นต้น ๓. สนับสนุนให้มีการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ (ผักปลอดสารพิษ) ที่ใช้ประกอบอาหารภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และรวมถึงที่บ้านของผู้ปกครองด้วย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและเด็กเล็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีการบริหารจัดการอาหารปลอดภัย โดยใช้วัตถุดิบปลอดสารพิษในการประกอบอาหารทั้งในศูนย์และที่บ้าน
    1. ผู้ปกครองและเด็กเล็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างอาหารปลอดภัย
    2. ผู้ปกครองและเด็กเล็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีความรู้ในการเลือกอาหารดี มีประโยชน์โดยสามารถเลือกบริโภคได้ในท้องถิ่นของเรา
    3. ลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ในสังคม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2561 13:20 น.