กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/คัดกรองมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 61-L2529-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประมวล ทองอินทราช
พี่เลี้ยงโครงการ นางปารีดะ แก้วกรด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.152,101.492place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่เป็นปัยหาสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาสถิติ ทั่วโลกมีสตรีที่เสียชีวิต จากโรคมะเร็งปากมดลูก 231,000 รายต่อปี และมากกว่าร้อยละ 80 จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศไทยโรคมะเร็งปากมดลู เป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย เริ่มพบก่อน อายุ 20 ปี แต่พบได้น้อยมากและพบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี และพบว่าเป็นชนิด Squamous cell carcinoma ร้อยละ 80-86 และเป็นชนิด Adenocacinoma ร้อยละ 12-19 ของโรคมะเร็งปากมดลูก ทั้งหมดจากสถิติใน 5 จังหวัดที่ทำทะเบียนมะเร็งในระดับประชากร ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี เป็นร้อยละ 86.2 ในจังหวัดเชียงใหม่ และร้อยละ 54.5 ในจังหวัดขอนแก่น แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี จะดีขึ้น ถ้าพบในระยะเริ่มแรก จากข้อมูลอัตราอุบัติการณ์ใน 5 จังหวัด ในแต่ละภาค ของประเทศทำให้คาดประมาณได้ว่า จะมีผู้ป่วยใหม่ทั้งประเทศรวมกัน ไม่น้อย 8,000 รายในปี 2559 โสรคมะเร็ง ปากมดลูก ในสตรีไทยส่วนใหญ่เป็นมาก เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไปการทำ Pap Smear 1 ครั้ง ทุก 5 ปี เนื่องจากขบวนการเกิดโรคมะเร็งหลังจากที่มีการติดเชื้อ Hunman papilloma viruses ชนิด High -risk types จะใช้เวลานานกว่า 10 ปี ในการทำให้เกิดเป็น Invasive cencer จากผลการศึกษา Internation Agency for Research on Cencer ( IARC/WHO) พบว่าถ้ารทำ Pap Smear 1 ครั้งทุก 3 ปี จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลง ร้อยละ 91-93 ทำ Pap Smear 1 ครั้ง ทุก 5 ปี จะลดลงร้อยละ 84 จึงเป็นการดีที่หากมีการตรวจ คัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในช่วงอายุ และระยะเวลาที่กำหนด โรงพยาบาลศรีสาคร เห็นความสำคัญของปัญหานี้ และเพื่อสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้สตรี อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจภายใน เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูก ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายในปี พ.ศ. 2561 ทางโรงพยาบาลศรีสาครจึงดำเนินการจัดทำ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/คัดกรองมะเร็งเต้านม ดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ลดอัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านมในกลุ่มสตรี อายุ 30-60 ปี

น้อยกว่า ร้อยละ 0.2

0.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและตรวจได้อย่างถูกต้อง

มากกว่า ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำและเสนอโครงการให้คณะกรรมการอนุมัติ
  2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้. ให้ความรู้ประชาชนโรคมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม
  3. จัดกิจกรรมรณรงค์คัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านมในชุมชน
  4. จัดเวที Conferent case ในโรงพยาบาล
  5. ติดตามและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละสตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม มากกว่า ร้อยละ 80
  2. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม. (ไม่เกินร้อยละ 0.2/ปี)
  3. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเองโดยการตรวจคัดโรคมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2561 15:01 น.