กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนและวัณโรครายใหม่ในชุมชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเรียง
วันที่อนุมัติ 16 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุไวบะห์ ยูนุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.398,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคและโรคเรื้อน เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ โดยประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรคสูงเป็นอันดับที่ 18 จาก 22 ประเทศที่มีปัญหาการแพร่ระบาดวัณโรคสูงของโลก ในขณะที่ผลการดำเนินงานความสำเร็จในการรักษาค่อนข้างต่ำ ผู้ป่วยบางส่วนในชุมชนยังไม่ได้รับการวินิจฉัย การรักษาล่าช้า มาโรงพยาบาลเมื่อมีอาการมากแล้ว และเสียชีวิตในที่สุด บางรายได้รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง ขาดการรักษา อาจทำให้เกิดการดื้อยาและมีแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชน อำเภอรือเสาะ ปี 2555-2560 อำเภอรือเสาะ มีผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนใหม่ 58,48,42,47, 43 และ 49 ราย ตามลำดับ และผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลเรียง ในปี 2555 – 2560 จำนวน 2 ,2 ,4 ,1, 1 และ 2 ราย ส่วนสถานการณ์ของโรคเรื้อนจากข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ปี 2559 อำเภอรือเสาะ มีผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ จำนวน 3 ราย 1 ใน 3 รายนั้น พบผู้ป่วยโรคเรื้อนที่บ้านกำปงบารู หมู่ที่ 8 ตำบลเรียง 1 ราย แต่ปี 2560 ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีปัญหาในเรื่องการให้การรักษาผู้ป่วยวัณโรคภายใต้ระบบการกำกับการกินยา (DOTS) ซึ่งผู้มีหน้าที่กำกับการกินยาส่วนใหญ่จะเป็นญาติผู้ป่วย การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยไม่ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน ขาดการควบคุมกำกับการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การให้ความรู้เรื่องวัณโรคและโรคเรื้อนในระดับชุมชนยังขาดความสำคัญ และมีการดำเนินกิจกรรมการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดระยะแพร่เชื้อและโรคเรื้อนในเชิงรุกน้อย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเรียง ได้เล็งเห็นความสำคัญของโรคเรื้อนและวัณโรค จึงจัดทำโครงการรณรงค์และค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนและวัณโรครายใหม่ในชุมชน ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้รับการคัดกรองและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักในการร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของวัณโรคและโรคเรื้อน และเพื่อให้ความสำคัญในการร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของการเกิดโรควัณโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในการตรวจคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนและวัณโรครายใหม่ 2. เพื่อค้นหาผู้มีอาการสงสัยของโรคเรื้อนและวัณโรคในชุมชน ให้ได้รับการคัดกรองและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อนและวัณโรคได้รับการติดตามดูแลและเยี่ยมบ้านครบตามเกณฑ์

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ในการดำเนินงานรณรงค์ ควบคุมและป้องกันโรคเรื้อนและวัณโรค 1. พัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความรู้เรื่องโรคเรื้อนและวัณโรค เช่น อาการ อาการแสดง การวินิจฉัย การรักษา การป้องกันการแพร่กระจายของโรค และอาการสงสัยว่าเป็นโรคเรื้อนและวัณโรค     2. มีการพัฒนาสื่อความรู้ คู่มือแก่ อสม. เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมและป้องกันโรคเรื้อนและวัณโรคในชุมชน
3. สร้างเครือข่าย อสม. ให้มีส่วนร่วมในการรณรงค์และค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน

    2.2 กิจกรรมพัฒนาระบบการค้นหา ติดตาม ควบคุมและป้องกันโรคเรื้อนและวัณโรค
1. อสม.ค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนโดยการตรวจคัดกรองประชาชนบ้านกำปงบารู หมู่ที่ 8 ตำบลเรียง
2. อสม. ค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่โดยการตรวจคัดกรอง 7 กลุ่มเสี่ยง คือ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขัง และกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ที่ติดสารเสพติด ในชุมชม 2. อสม. ส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยเป็นโรคเรื้อนและวัณโรคให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลเรียง เพื่อตรวจคัดกรองเบื้องต้นและส่งต่อเพื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ต่อไป 3. จัดแนวทางการติดตามผู้ป่วยโรควัณโรคโดยเน้นให้ อสม. เป็นผู้ติดตามดูแลและเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค และสรุปผลการติดตามโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการรณรงค์ และค้นหาป่วยโรคเรื้อนและวัณโรครายใหม่ในชุมชนมากขึ้น
  2. ลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชนจากผู้ป่วยโรคเรื้อนและวัณโรครายใหม่
  3. ชุมชนให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคเรื้อนและวัณโรคอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2561 12:56 น.