กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการใช้ยาอย่างสมเหตุผลป้องกันคนในชุมชนเกิดเชื้อดื้อยา
รหัสโครงการ 61-L7452-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 30 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 429,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสัญญา ยือราน เภสัชกรชำนาญการ หัวหน้างานเภสัชกรรม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะซากี อีซอ ผู้อำนวยการส่วนบริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1800 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกให้คำจำกัดความของ “ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug use)” ไว้ คือ “ ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพ โดยใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม และมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด” (WHO,1985) การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่สมเหตุผล ข้อมูลปี 2554 กระทรวงสาธารณสุขเผยว่า ในรอบ 10 ปี ไทยพบปัญหาเชื้อแบคทีเรีย 4 ชนิด ที่พบบ่อยดื้อยาปฏิชีวนะ สูงกวา 30 เท่าตัว เพราะเหตุการณ์ใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกโรค ไม่ถูกวิธี อัตราการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 20,000 – 38,000 คน ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานกว่าปกติ คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 46,000 ล้านบาท มากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดและจากอุบัติเหตุ แผนยุทธศาสตร์การจัดการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564 ของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ และกำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุภายในปี 2564 ไว้ 5 ประการ ที่สำคัญต่อประชาชน คือ ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20     จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของโรงพยาบาลยะลา ประจำปี 2557-2559 พบว่า มีจำนวน 817,799 และ 1,013 คน ตามลำดับ และจากผลการสำรวจปัญหาการใช้ยาในชุมชนคูหามุข ในปี 2556 พบว่า ประเด็นปัญหาสำคัญส่วนใหญ่ประชาชนไม่ทราบความแตกต่างของยาปฏิชีวนะกับยาแก้อักเสบ คิดเป็นร้อยละ 41.33 ซื้อยาชุดจากร้านชำมากินเอง คิดเป็นร้อยละ 21.33 และจากข้อมูลผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมในชุมชนคุปตาสา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เมื่อมีอาการเป็นหวัด น้ำมูกไหล เจ็บคอ จะมีการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อที่ระบบการหายใจช่วงบนและหลอดลมอักเสบ เฉียบพลันเป็นลำดับแรก คิดเป็นร้อยละ 83.33 และเมื่อมีบาดแผลสดจากอุบัติเหตุมีการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคบาดแผลสดนั้นเป็นลำดับแรก คิดเป็นร้อยละ 81.33       จากความสำคัญดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การพัฒนากลไกและเครื่องมือเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลด้วยการสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และการพัฒนาระบบและกลไกป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาต้านจุลชีพ และการดื้อยาของเชื้อก่อโรค เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น งานเภสัชกรรมสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาชนในชุมชนนำร่อง ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา จัดทำโครงการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ป้องกันคนในชุมชนเกิดเชื้อดื้อยานี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้น

ข้อที่ 1 ร้อยละ 20 ของประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้น 

20.00
2 ข้อที่ 2 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

ข้อที่ 2 ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

80.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อสร้างความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

ข้อที่ 3 ประชาชนในชุมชนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลาเป็นจำนวนร้อยละ 80 

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1860 429,840.00 5 405,646.00
30 พ.ค. 62 การประชุมชี้แจงตัวแทนองค์กร เครือข่ายภาคประชาสังคม เจ้าหน้าที่สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา และการประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน จำนวน 60 คน 60 2,100.00 2,100.00
13 มิ.ย. 62 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยา และตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ องค์กร เครือข่ายภาคประชาสังคม สื่อมวลชน จำนวน 200 คน 200 43,640.00 43,556.00
13 มิ.ย. 62 - 2 ก.ย. 63 การจัดนิทรรศการและประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน 10 แห่ง และชุมชน 20 ชุมชน ภายในเขตเทศบาล 0 72,100.00 72,100.00
14 มิ.ย. 62 - 12 ธ.ค. 62 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ของสถานศึกาาในเขตเทศบาล จำนวน 10 แห่งๆ ละ 100 คน รวมทั้งหมด 1,000 คน 1,000 195,000.00 195,084.00
20 มิ.ย. 62 - 2 ก.ย. 63 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลนครจำนวน 20 ชุมชนๆ ละ 30 คน รวมจำนวน 600 คน 600 117,000.00 92,806.00
  1. ประสานงานภาคีเครือข่ายภาครัฐและภาคประชาชน เจ้าหน้าที่สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ประสานงานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  4. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังนี้   4.1 กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงตัวแทนองค์กร เครือข่ายภาคประชาสังคม เจ้าหน้าที่สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา และการประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน จำนวน 60 คน   4.2 กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยา และตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ องค์กร เครือข่ายภาคประชาสังคม สื่อมวลชน จำนวน 200 คน   4.3 กิจกรรมที่ 3 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ ครู อาจารย์ และนักเรียน ของโรงเรียนในเขตเทศบาล จำนวน 10 โรงเรียนๆ ละ 100 คน รวมทั้งหมด 1,000 คน
      4.4 กิจกรรมที่ 4 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลนครจำนวน 20 ชุมชนๆ ละ 30 คน รวมจำนวน 600 คน   4.5 กิจกรรมที่ 5 การจัดนิทรรศการและประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน 10 แห่ง และชุมชน 20 ชุมชน ภายในเขตเทศบาล
  5. สรุปผลการดำเนินงาน
  6. นำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การพัฒนาระบบพื้นฐานด้านการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาและขับเคลื่อนทางนโยบาย การใช้สื่อสำหรับการรณรงค์แก่ประชาชน และการรณรงค์ความตระหนัก ความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่

  2. การพัฒนาชุมชนต้นแบบที่มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผลป้องกันประชาชนในชุมชนเกิดเชื้อดื้อยา ด้วยการใช้มาตรการ การอบรมให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องมือ/สื่อ ที่เตรียมขึ้นอย่างสอดคล้องกับปัญหา/ข้อมูล/บริบทของชุมชนเพื่อเฝ้าระวังเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ

  3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2561 11:26 น.