กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมทางกายในโรงเรียนเทศบาล 3 วัดพุทธภูมิ
รหัสโครงการ 61 – L7452 -2- 13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล 3 วัดพุทธภูมิ
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 30 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 79,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเถลิงศักดิ์ ป้อมสกุล ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ นางนุชนภางค์ ลิ้มสุชาติ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 วัดพุทธภูมิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานวิจัยมากมายได้แสดงหลักฐานว่า การมีกิจกรรมทางกายเป็นประจำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอมีผลต่อสุขภาวะ สามารถลดอุบัติการณ์ของการเจ็บป่วย โรคเรื้อรัง เช่น ลดอุบัติการณ์โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน อ้วน และมะเร็ง จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก ประมาณว่าการไม่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอเป็นสาเหตุของโรคหัวใจเลือด ร้อยละ 22-23 โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 16-17 เบาหวาน ร้อยละ 15 หลอดเลือดสมอง ร้อยละ 12-13
สำหรับกิจกรรมทางกายนั้น หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการใช้พลังงานในร่างกาย โดยเฉพาะครอบคลุมกิจกรรมทางกายทั้ง 3 ลักษณะ คือ1) กิจกรรมจากการทำงาน (Activity at work) ได้แก่ การทำงานโดยปกติ ที่ต้องออกแรงกายอย่างหนักหรือปานกลาง2) กิจกรรมจากการเดินทางในชีวิตประจำวัน (travel to and from places) ได้แก่ การเดิน และการขี่จักรยาน3) กิจกรรมยามว่าง (recreational activities) ได้แก่ การออกกำลังกาย เล่นกีฬา มีกิจกรรมยามว่าง กิจกรรมทั้ง 3 ลักษณะนี้ แต่ละลักษณะมีความหนักเบาของการใช้แรงกาย (intensity) ระยะเวลาที่มีกิจกรรม เป็นนาทีต่อวัน และความถี่ของการมีกิจกรรมเป็นวันต่อสัปดาห์จากผลการสำรวจกิจกรรมทางกาย ร้อยละ 42.6 ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายระดับมากและร้อยละ 38.2 ในเกณฑ์ปานกลาง โดยรวมร้อยละ 80.8 ของประชากรไทย 15 ขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายระดับเพียงพอ โดยในผู้ชายมีร้อยละ 81.6 ส่วนในผู้หญิง มีร้อยละ 80.0 สัดส่วนของคนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอมีสูงสุดในช่วงอายุ 30-59 ปี และลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น คนที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลมีร้อยละ 82.8 มีกิจกรรมทางกายสูงกว่าในเขต ซึ่งมีร้อยละ 78.4 จากความสำคัญดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการมีกิจกรรมทางกายเป็นประจำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอมีผลต่อสุขภาวะ สามารถลดอุบัติการณ์ของการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนให้มีพัฒนาการที่ดี และจะเห็นว่ายังขาดข้อมูลในโรงเรียน รวมถึงความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมดังนั้น เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการโครงการกิจกรรมทางกายเป็นอย่างยิ่งดังนั้น โรงเรียนเทศบาล 3 วัดพุทธภูมิ ร่วมกับสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา และกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมทางกายในโรงเรียนเทศบาล 3 วัดพุทธภูมินี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ข้อที่ 1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

80.00
2 ข้อที่ 2 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ข้อที่ 2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

80.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อสร้างความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

ข้อที่ 3 นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลาเป็นจำนวนร้อยละ 80 

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 79,850.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงตัวแทนครู นักเรียน บุคลากรด้านสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน 0 1,050.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 การสำรวจสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายของนักเรียน จำนวน 2 ครั้ง 0 6,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 การสร้างความรู้ ความเข้าใจด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่ ครู และนักเรียน ของโรงเรียน จำนวน 350 คน เป็นเวลา 1 วัน 0 40,800.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 4 การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาขีดความสามารถแกนนำด้านการออกกำลังกาย แกนนำนักเรียน จำนวน 80 คน เป็นเวลา 5 วัน 0 30,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 5 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางกายในโรงเรียน 0 2,000.00 -
  1. ศึกษาข้อมูล และประสานงานการจัดทำโครงการร่วมกับสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา และกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. วางแผนและดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังนี้   3.1 กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงตัวแทนครู นักเรียน บุคลากรด้านสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน   3.2 กิจกรรมที่ 2 การสำรวจสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายของนักเรียน จำนวน 2 ครั้ง   3.3 กิจกรรมที่ 3 การสร้างความรู้ ความเข้าใจด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่ ครู และนักเรียน ของโรงเรียน จำนวน 350 คน   3.4 กิจกรรมที่ 4 การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาขีดความสามารถแกนนำด้านการออกกำลังกาย แกนนำนักเรียน จำนวน 80 คน เป็นเวลา 3 วัน   3.5 กิจกรรมที่ 5 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางกายในโรงเรียน
  4. สรุปผลการดำเนินงาน
  5. นำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะครูและนักเรียนเกิดความตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
  2. คณะครูและนักเรียนในโรงเรียนมีการออกกำลังกายร่วมกัน มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง
  3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมภายในโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2561 00:00 น.