กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์คุณภาพและพัฒนาแกนนำเพื่อหญิงตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 61-L5192-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ลำไพล
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจินตณีย์ หีมบวช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 220 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยและเด็ก ตำบลลำไพล ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ๕ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของตำบลลำไพล ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ๔๘.33 (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๖๐) หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ 61.38(เกณฑ์มากกว่าร้อยละ60)ซึ่งยังมีบางตัวชี้วัดต่ำกว่าเกณฑ์ จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย
    ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเศรษฐกิจ ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะประชาชนในระดับรากหญ้าชนบทได้รับความเดือดร้อนในด้านความเป็นอยู่ แต่ละครัวเรือนต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทองและความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของการฝากครรภ์ล่าช้า (หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์) นอกจากนี้สาเหตุของการฝากครรภ์ล่าช้า คือ วัยรุ่นที่ขาดความรู้เรื่องการคุมกำเนิด มีรักในวัยเรียน ส่งผลให้มีแม่วัยรุ่นในช่วงอายุ 13-19 ปี มากขึ้น วัยรุ่นเหล่านี้มักปกปิดการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมเพิ่มขึ้น ส่วนแม่ครรภ์หลังๆ ไม่เห็นความสำคัญของการรีบฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ จากการขาดความรู้ ขาดความตระหนัก จากการฝากครรภ์ล่าช้าทำให้ไม่ได้รับการดูแลก่อนคลอดที่เหมาะสม ทารกในครรภ์ ไม่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ทำให้เด็กที่คลอดออกมาสุขภาพไม่สมบูรณ์ น้ำหนักน้อย พัฒนาการไม่สมวัยได้
การตั้งครรภ์เป็นภาวะธรรมชาติที่เกิดมาพร้อมกับมนุษย์จนเราเห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในความเป็นจริง แล้วในระหว่างการตั้งครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 9 เดือนเศษนั้นมีสิ่งที่ควรปฏิบัติและระมัดระวังหลาย อย่าง เพื่อให้ได้ผลการคลอดที่ทั้งบุตรและมารดาปลอดภัย และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ก่อนจะตั้งครรภ์นั้นเราต้องวางแผนไว้ก่อน ทุกวันนี้ในสังคมไทยมีการร่วมเพศก่อนแต่งงานสูงขึ้นเรื่อย ๆปัญหาคือไม่ได้วางแผนคุมกำเนิด ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้นได้พวกนี้มักอ้างว่าร่วมเพศครั้งแรกแล้วไม่เห็นตั้งครรภ์ หรืออยู่ด้วยกันมาเป็นปี ๆ ประจำเดือนก็มาตลอดจึงไม่ได้คุมกำเนิด ต้องเข้าใจว่าช่วงแรก ๆ ร่วมเพศแล้วไม่ตั้งครรภ์แล้วจะคิดประมาทว่าจะไม่ตั้งครรภ์ในครั้งต่อ ๆ ไปไม่ได้เพราะการตั้งครรภ์ขึ้นกับรอบจังหวะและสิ่งประกอบหลาย ๆ อย่างเมื่อตั้งครรภ์แล้วก็ต้องรีบมาฝากครรภ์เพื่อตรวจเลือดหาภาวะซีด หรือโรคติดต่อต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทั้งหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ มารับการแนะนำด้านโภชนาการและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง เพื่อเตรียมทารกให้คลอดอย่างปลอดภัย เติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดีมีคุณภาพ ไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศในอนาคต     ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพลได้เห็นถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์จึงจัดทำโครงการฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ครบ เพื่อลูกรักสุขภาพดี เพื่อมุ่งส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ทุกช่วงวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง

ความครอบคลุมหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์มากกว่าร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน 5 ครั้งตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มากกว่า  ร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสเข้ารับการอบรมโรงเรียนพ่อแม่ตามเกณฑ์มาตรฐานสายใยรัก
  • หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสเข้ารับการอบรมกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่อย่างน้อย 2 ครั้ง
  • หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสมีความรู้ในเรื่องการฝากครรภ์
60.00
4 เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้และสามารถนำไปถ่ายทอดแก่เพื่อนได้

แกนนำนักเรียนมีความรู้ในเรื่องการฝากครรภ์คุณภาพมากกว่าร้อยละ ๘๕ 

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 73,430.00 0 0.00
1 - 31 พ.ค. 61 กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ รุ่น 1 โดยแบ่งตามช่วงอายุครรภ์ ๑-๒๘ สัปดาห์ (ครั้งที่1) 0 26,600.00 -
1 - 31 พ.ค. 61 ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 0 8,000.00 -
1 - 30 มิ.ย. 61 ป้ายโครงการ 0 2,400.00 -
1 ก.ค. 61 - 31 พ.ค. 61 จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 0 3,500.00 -
1 - 31 ส.ค. 61 อบรมแกนนำนักเรียน 0 6,330.00 -
1 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ รุ่น 2 โดยแบ่งตามช่วงอายุครรภ์ มากกว่า ๒๘ สัปดาห์ (ครั้งที่2) 0 26,600.00 -
  1. ระยะเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล ท่าไทร และ PCU ๓ 1.2 จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ
  2. ระยะดำเนินการ 2.1 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 -  จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
  3. รพ.สต.ลำไพล จำนวน 35 คน
  4. รพ.สต.ท่าไทร จำนวน 20 คน
  5. เวชปฏิบัติครอบครัว (PCU 3) จำนวน 15 คน

- มอบเกียรติบัตรแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 2.2 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 -  อบรมโรงเรียนพ่อแม่ จำนวน 2 รุ่น โดยแบ่งตามช่วงอายุครรภ์ รุ่นที่ 1 ช่วงอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ รุ่นที่ 2 ช่วงอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ 2.3 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ ๔ - อบรมแกนนำนักเรียน 1. รพ.สต.ลำไพล จำนวน ๘๐ คน 2. รพ.สต.ท่าไทร จำนวน ๘0 คน 3. เวชปฏิบัติครอบครัว (PCU 3) จำนวน ๓๐ คน 3. ระยะหลังดำเนินการ - สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข ทุกคนได้รับความรู้และความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรภ์
  2. หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสปฏิบัติตัวตามช่วงอายุครรภ์ได้อย่างเหมาะสม
  3. หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ได้
  4. เพื่อกระตุ้นให้หญิงวัยเจริญพันธุ์เกิดความตื่นตัวในการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  5. เพื่อให้แกนนำนักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจในการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2561 14:57 น.