กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สาวอรวมพลังเยาวชน ป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด
รหัสโครงการ 62-L2516-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สาวอจิตอาสาเมืองดาหลา
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 60,170.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายอับดุลรอเซะ ปะเต๊ะ 2.นายมะซากี หะมะรอแมโน 3.นางซากีนา สิโล้ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านสาวอฮูลู ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี(คน)
50.00
2 จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี (คน)
50.00
3 จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงาน เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ (คน)
10.00
4 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป) ที่สูบบุหรี่
80.00
5 ร้อยละของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน
90.00
6 มาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ(จำนวนมาตรการ)
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัญหายาเสพติดประเทศไทยเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยหากพิจารณากลุ่มประชากรที่มีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดเป็นอย่างสูง พบได้ว่า กลุ่มเยาวชนเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงหรือมีโอกาสสูงในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งหากพิจารณาข้อมูลผู้เข้ารับการบำบัดตามระบบรายงานระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด (บสต.) พบว่า เยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นกลุ่มที่เข้ารับการบำบัดรักษาเป็นจำนวนมาก โดยเข้ารับการบำบัดถึงร้อยละ 50.13 51.35 และ 52.04 ของประชากรที่เข้ารับการบำบัดทั้งหมดตามลำดับ ดังนั้น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงควรมุ่งเน้นที่เยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญแนวนโยบายและกรอบยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ผ่านมา จึงได้กำหนดการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักของการดำเนินงาน โดยมีมาตรการป้องกันกลุ่มเสี่ยงมิให้มีโอกาสเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (Potential Demand) เป็นแนวทางหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ จัดทำแผนปฏิบัติการและการดำเนินงานก็ได้กำหนดให้เยาวชนเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติดและปัจจัยยั่วยุต่างๆเป็นต้น ฉะนั้น การป้องกันในกลุ่มเยาวชนเพื่อมิให้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดจึงเป็นเจตจำนงและแนวนโยบายที่สำคัญของภาครัฐและองค์กรในภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 37.1 ของประชากรทั้งหมด รวมถึงมีลักษณะหลากหลาย ทั้งเยาวชนที่อยู่กับครอบครัว เยาวชนที่ครอบครัวแตกแยกหรือมีเหตุจำเป็นทำให้ไม่ได้อยู่กับครอบครัว เยาวชนในสถานศึกษา เยาวชนนอกสถานศึกษาเยาวชนแกนนำ เยาวชนด้อยโอกาส เยาวชนที่มีความสามารถด้านการเรียน มีความสามารถด้านกีฬา ด้านดนตรี หรือเยาวชนที่อาจยังหาความสามารถของตนเองไม่พบฯลฯ ซึ่งเยาวชนแต่ละกลุ่มแต่ละลักษณะจะมีโอกาสในความเสี่ยงที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดแตกต่างกัน
กลุ่มเยาวชนที่มีโอกาส/ความเป็นไปได้ในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มที่มีทัศนคติที่ผิดเกี่ยวกับยาเสพติดกลุ่มที่มีวัฒนธรรม/วิถีชีวิตยอมรับการใช้ยาเสพติด กลุ่มที่ใช้ชีวิต/เวลาในทางที่ไม่ควรอาทิ หนีเรียน มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ติดเกม เสพสื่อลามก กลุ่มที่มีความเอนเอียงต่อพฤติกรรมแข่งรถซิ่ง และกลุ่มที่มีปัญหาครอบครัวดังนั้น การดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน ซึ่งมีปัจจัยจำกัดเชิงบริหารต่างๆ เช่น ปัจจัยจำกัดด้านทรัพยากร เวลาและองค์ความรู้ จึงจำเป็นต้องเลือกกลุ่มเยาวชนที่มีความเสี่ยง/โอกาสสูงในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดเป็นลำดับความสำคัญแรกในการดำเนินงาน เพื่อให้การป้องกันปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนสามารถดำเนินการได้อย่างตรงจุด ตรงประเด็น และตรงต่อสภาพปัญหามากที่สุด อันจะทำให้การป้องกันปัญหายาเสพติดสามารถบังเกิดผลหรือสามารถลดผู้ที่จะเข้าประตูสู่ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง
ลักษณะเยาวชนโดยรวมสามารถจำแนกออกได้หลากหลายลักษณะตามแต่มุมมองในด้านต่างๆ สำหรับกรอบความคิดเพื่อการดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน ได้แบ่งเยาวชนตามลักษณะทางพฤติกรรมออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ เยาวชนกลุ่มทั่วไป กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพ/ติด โดยเยาวชนแต่ละกลุ่มมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เยาวชนกลุ่มทั่วไป คือ เยาวชนทั่วไปที่มีพฤติกรรมตามปกติในบรรทัดฐานทางสังคมและมีภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติดในระดับที่มากกว่าเยาวชนกลุ่มอื่นโดยเปรียบเทียบ
(2) เยาวชนกลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนหรือมีโอกาส/แนวโน้มสูงที่จะใช้ยาเสพติด หรืออาจรวมถึงเยาวชนที่เสพยาเสพติดหรือเคยทดลองใช้บ้างแล้วแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นผู้ติด
(3) เยาวชนกลุ่มเสพ/ติด คือ กลุ่มเยาวชนที่เสพ/ติดยาเสพติดเป็นประจำซึ่งจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดรักษา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี

จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ (คน)

50.00 25.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี

จำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(คน)

50.00 25.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

10.00 30.00
4 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่

อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปลดลงเหลือ(ร้อยละ)

80.00 60.00
5 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน

อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้านของตนเองลดลงเหลือ(ร้อยละ)

90.00 60.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ

จำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(จำนวนมาตรการ)

0.00 3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 60,770.00 0 0.00
??/??/???? ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงานอาสาสมัครดาหลา บ้านสาวอฮูลู ในการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 0 1,500.00 -
??/??/???? พัฒนาศักยภาพเยาวชนตำบลสาวอเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนตามหลักศาสนาและหลักสันติวิธี 0 37,770.00 -
??/??/???? สร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด เยาวชนดาหลา ทำความดีด้วยหัวใจ 0 10,900.00 -
??/??/???? กิจกรรม มัสยิดนำร่อง ตาดีกาต้นแบบ ปลอดบุหรี่ 0 10,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องอันตรายของสารเสพติด
  2. เยาวชนมีกิจกรรมยามว่างเพื่อลดละเลิกสารเสพติด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2561 11:59 น.