กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค ในปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5245-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังปริง
วันที่อนุมัติ 29 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 20,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังปริง
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฏฐเกียรติ ชำนิธุระการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.774,100.524place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อนหรือแม้แต่สารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมทำให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกันให้กับประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั่นและระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผู้บริโภค ทำให้ได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปสะสมในร่างกาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังปริง ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัยขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพอาหาร และเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใมจในเรื่องสุขาภิบาล สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง-ประกอบอาหารได้ 2. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและสถานที่จำหน่ายอาหาร 3. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน 4. เพื่อเพิ่นพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของ อสม.ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน 5.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

1.จำนวนแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์การตรวจมาตรฐานตามหลักสุขภิบาล ร้อยละ 100 2.จำนวนแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์การตรวจความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 80 3.จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/กิจกรรมให้ความรู้และพฤติกรรมด้านอาหาร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20.00 0 0.00
1 พ.ย. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร แผงลอยอาหารทอด ผู้ทำอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชุดทดสอยสารปนเปื้อนในอาหาร 4 ชนิดแก่ อสม. 0 20.00 -

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบโครงการ 1.2 ดำเนินการสำรวจประเมินแผงลอยจำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารทอด โรงอาหารในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก 1.3 เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารร้านขายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารภายในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังปริง ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ตามมาตรฐานการจัดตั้งร้านขายของอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ถูกสุขลักษณะ 2.2 ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียของร้านขายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนเด็กเล็ก โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Sl-2) 2.3 เชิญชวนแผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.4 จัดประชุมให้ความรู้และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารแก่อาสาสาสมัครทั่วไป 3. ขั้นติดตามประเมินผล 3.1 ดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนทุก 3 เดือน 3.2 ดำเนินการตรวจมาตรฐานการจัดตั้งแผงลอยจำหน่ายอาหารทุก 3 เดือน 3.3 ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียในแผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุก 3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการมีความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมที่ถูกต้องด้านสุขาภิบาลอาหาร
  2. แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารในโรงเรียนมีมาตรฐาน
  3. ผู้บริโภคมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง อันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2561 09:58 น.