กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรค ๓อ๒ส
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้
วันที่อนุมัติ 20 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก ๓อ๒ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง
จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เมื่องบประมาณ 2560 ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2560 รับการคัดกรอง 1,292 คน พบเสี่ยง(ระดับน้ำตาลในเลือด 100-126mgdl) จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ  4.27 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126mgdl) จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ  0.57 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นทะเบียนจำนวน 5 ราย อัตราป่วยรายใหม่คิดเป็น 38.96 ต่อแสนประชากร และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบเสี่ยง(ระดับความดันโลหิต SBP120-139 mmHg หรือ DBP 80-89 mmHg) จำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ  24.96 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับความดันโลหิต SBP>=140mmHg หรือ DBP >=90 mmHg)) จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 2.72 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นทะเบียนจำนวน 16 ราย อัตราป่วยรายใหม่คิดเป็น 1,238.39 ต่อแสนประชากร จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของประชาชน อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระใต้ พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ชอบรสหวาน มัน เค็ม และขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวโดยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ไม่เสี่ยงต่อสุขภาพ
การดำเนินงานดูแลสุขภาพของเด็กวัยเรียนจำเป็นต้องมีการดาเนินงานควบคู่ทั้งในด้านการแก้ปัญหาสุขภาพเฉพาะประเด็นและการส่งเสริมสุขภาพองค์รวม โดยใช้กลยุทธ์การพัฒนาความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง สุขบัญญัติแห่งชาติ ภายใต้การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในองค์ประกอบ ที่ 6 เรื่องสุขศึกษาในโรงเรียน เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกทักษะสุขบัญญัติ 10 ประการ เสริมการเรียนในวิชาสุขศึกษา เพื่อให้เด็กมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติการเจ็บป่วยและการเกิดปัญหาสุขภาพจะน้อยลงหากทุกคนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามสุขบัญญัติ 10 ประการซึ่งต้องเริ่มต้นปลูกฝังที่เด็กเยาวชนให้มีการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องและปฏิบัติเป็นประจำเพื่อให้เป็นสุขนิสัยเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียนส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จากรายงานสถานการณ์ของสานักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปี 2557 พบว่าปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียนที่สำคัญในด้านโภชนาการ คือ เด็กอายุ 6-12 ปี มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนเพียงร้อยละ 60.7 และมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 8.8 เนื่องจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องทั้งปริมาณและสัดส่วน เคลื่อนไหวออกแรงน้อยในแต่ละวัน รวมทั้งค่านิยม กินอาหารตามวัฒนธรรมตะวันตก คืออาหารขยะ อาหารจานด่วน น้าอัดลม ขนมกรุบกรอบ ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาฟันผุ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค ๓อ๒ส ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ โดยดำเนินการในหมู่ที 4 บ้านแป-ระใต้ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย ๓อ๒ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

๑. บ้านแป-ระใต้ หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าเรือ เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการปลูกผักกินเองและกินผักเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๐ 

0.00
2 2. เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามแนวทาง สุขบัญญัติแห่งชาติ

๒. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหมู่บ้านต้นแบบฯ

0.00
3 3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค

๓. กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ร้อยละ 80

0.00
4 4. เด็กวัยเรียนโรงเรียนบ้านแป-ระใต้ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามแนวทาง สุขบัญญัติแห่งชาติ
  1. เด็กวัยเรียนโรงเรียนบ้านแป-ระใต้ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามแนวทาง สุขบัญญัติแห่งชาติ ร้อยละ 75
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,000.00 2 13,000.00
30 ส.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มประชาชน ที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 0 8,250.00 8,250.00
30 ส.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มวัยเรียน นักเรียนโรงเรียนบ้านแป-ระใต้ ป.4-ป.6 0 4,750.00 4,750.00

๑. สำรวจข้อมูลกลุ่มเสี่ยง แยกกลุ่มและรวบรวมข้อมูล ๒. เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ ๓. สร้างทีมงาน แต่งตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนฯ ๑๔ คน ๔. ประชุมคณะกรรมการ คืนข้อมูลสุขภาพและแนวทางการดำเนินงาน ๕. จัดทำทะเบียนเครือข่ายสุขภาพหมู่บ้านปรับเปลี่ยนฯ ๖. ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มวัยทำงานและความรอบรู้ตามสุขบัญญัติแห่งชาติกลุ่มวัยเรียน ๗. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภคอาหาร ข้อปฏิบัติการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ กินผักปลอดสารพิษ ชีวิตปลอดภัย และการปลูกผักปลอดสารพิษ แก่กลุ่มเสี่ยง ๘. จัดอบรมนักเรียน ป.4-ป.6 โรงเรียนบ้านแป-ระใต้ เรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ กลุ่มเด็กและเยาวชน ๙. สนับสนุนส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง
๑๐. ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. บ้านแป-ระใต้ หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าเรือ เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีการปลูกผักกินเองและกินผักเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๐ ๒. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหมู่บ้านต้นแบบฯ ๓. ประชาชนในหมู่บ้านต้นแบบฯ มีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2561 15:34 น.