กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมลดเสี่ยงลดโรค หมู่ที่ 7 ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 15/61
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 19 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 เมษายน 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 18,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลกรงปินัง
พี่เลี้ยงโครงการ มารีแย สะอะ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมในยุคปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป มีการดำเนินชีวิตอย่างเร่งรีบ จึงทำให้มีพฤติกรรมต่างๆเปลี่ยนแปลงไป นำไปสู่การเป็นโรคร้ายต่างๆได้ง่าย เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนไทยในระดับต้นๆในจำนวนโรคไม่ติดต่อ พบว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะที่สำคัญของร่างกายได้แก่ ระบบหลอดเลือด สมอง หัวใจ อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน เกิดความพิการ หรือสูญเสียอวัยวะ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัวและสังคม ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลกรงปินัง ก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันยังมีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่มาโดยตลอดและได้มีความพยายามในการดำเนินการแก้ปัญหามาและคาดหวังว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่มีความยั่งยืน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด ปัญหาโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานยังคงเป็นโรคเรื้อรังของคนในชุมชน และเป็นโรคที่เรื้อรังกับชุมชนมาช้านาน ทั้งนี้ก็เนื่องมากจากโรคดังกล่าวเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งพูดได้ว่ามีความยากลำบากอย่างยิ่งในการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน ปัจจุบันนี้การแก้ปัญหาโดยใช้กลวิธีหรือกระบวนการต่างๆทุกรูปแบบทั้งในเรื่องของการค้นหากลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และนำกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในรายบุคคลก็จะเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยเข้าสู่กระบวนการตามคลินิก DPACโดยปรับใช้วิถีที่สอดคล้องกับชุมชน และเป็นไปตามครรลองของศาสนาจึงได้น้อมนำรูปแบบของการส่งเสริมสุขภาพที่มีต้นแบบมาจากท่านศาสดามูฮัมมัด (ซ.ล.) มาใช้บูรณาการในการดูแลสุขภาพเพื่อควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ประชาชนเกิดการตื่นตัว มีความสนใจ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้ผลทั้งสุขภาพดีและได้บุญอีกด้วยเนื่องจากเป็นแบบอย่างที่ปฏิบัติโดยศาสดามูฮัมมัด (ซ.ล.) และในปี 2561 นี้ได้มุ่งเน้นการดำเนินงานเชิงคุณภาพที่จะมุ่งเจาะไปทั้งชุมชนตัวอย่างที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการควบคุมโรคติดต่อเรื้อรัง ให้สามารถดำเนินการได้อย่างครบกระบวนการ มีคุณภาพ และสามารถเป็นต้นแบบที่ดีในการขับเคลื่อนสู่ชุมชนอื่นๆอีกต่อไป
โรงพยาบาลกรงปินัง เห็นควรที่จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สานต่อกิจกรรมที่ดียิ่งนี้ต่อไป แก้ปัญหาแบบตรงประเด็นตามรายะเอียดปลีกย่อยของปัญหาใหญ่ และต่อยอดด้วยกิจกรรมอื่นๆที่เป็นนวัตกรรมที่ดี นวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และมุ่งเน้นการสร้างชุมชนต้นแบบด้านการควบคุมโรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรังจึงจัดให้มีโครงการร่วมใจลดเสี่ยงลดโรค หมู่ 7 ต.กรงปินัง อ.กรงปินัง จ.ยะลา ขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การแก้ปัญหาโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีความต่อเนื่อง และเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละ 85 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด มีการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร การออกกกำลังกาย และการจัดการด้านอารมณ์ ได้ด้วยตนเอง ในระดับมากเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ

ร้อยละ  85 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด  มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับมาก

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 115 18,300.00 0 0.00
19 เม.ย. 61 - 31 ก.ค. 61 ค่าวิทยากร 1 คน x 300 บาท x 6 ชม. x 1 วัน 0 1,800.00 -
19 เม.ย. 61 - 31 ก.ค. 61 ค่าอาหารกลางวัน 85 คน x 60 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน 85 5,100.00 -
19 เม.ย. 61 - 31 ก.ค. 61 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 85 คน x 20 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน 0 3,400.00 -
19 เม.ย. 61 - 31 ก.ค. 61 ค่าอาหารกลางวัน 30 คน x 60 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน 30 1,800.00 -
19 เม.ย. 61 - 31 ก.ค. 61 ค่าเงินรางวัลบุคคลต้นแบบ รางวัลที่ 1 2,400 รางวัลที่ 2 1,800 รางวัลที่ 3 1,000 รางวัลชมเชย 500 x 2 0 6,200.00 -

2.1.จัดกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการโดยจัดอบรมให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพ และสาธิตเมนูสุขภาพตามบริบทของพื้นที่ 2.2. ค้นหาบุคคลต้นแบบที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทำให้ผลการตรวจสุขภาพดีขึ้น 2.3. จัดกิจกรรม self help group (กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.3 ดำเนินการติดตามเยี่ยมบ้าน ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยรายใหม่ อย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 85 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้าน อ.อาหาร อ.ออกกำลังกาย
  2.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับพฤติกรรมด้านอาหารและออกกำลังกายได้ดีขึ้นจากเดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10   3.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง มีระดับความดันโลหิตลดลง ร้อยละ 40 และกลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ร้อยละ 40   4.ร้อยละ 85 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2561 15:56 น.