กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยเรียน วัยใส รักอย่างไรไม่ให้เสี่ยง ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 32/2561
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 8,665.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม
พี่เลี้ยงโครงการ ศูนย์ประสานงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลป่าสัก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ละติจูด-ลองจิจูด 18.519,99.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 81 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลที่ผ่านมาของรายงานจากยูนิเชฟ (UNICEF) พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ของไทย มีจำนวนสูงถึง 150,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้เรื่อง เพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เช่นการนับระยะปลอดภัยหน้า7 หลัง7 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับอัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปีวันละ336 ราย เฉลี่ยปีละ 122,640 และพบว่ามีแม่วัยรุ่นอายุน้อยลงเรื่อยๆ
เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีอายุน้อยลงมาก วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และไม่ได้รับอาหารเสริม บุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักน้อย บางรายหาทางออก โดยวิธีการทำแท้ง ผลจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อ รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ บางรายก็ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากอับอายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม ที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2558 มีประชากรหญิงอายุ 15–19 ปี จำนวน 340 คน มีหญิงตั้งครรภ์อายุ 15–19 ปี จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.12 ปีงบประมาณ 2559 มีประชากรหญิงอายุ 15–19 ปี จำนวน 324 คน มีหญิงตั้งครรภ์อายุ 15–19 ปี จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.23 และปีงบประมาณ 2560 มีประชากรหญิงอายุ 15–19 ปี จำนวน 288 คน มีหญิงตั้งครรภ์อายุ 15–19 ปี จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.74

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการให้ความรู้กับเยาวชนในโรงเรียน เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และการดูแลสุขภาพร่างกาย โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหา การแก้ไขและการป้องกันปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา การดูแลสุขภาพร่างกาย เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาการดูแลสุขภาพร่างกาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. เยาวชนมีความรู้และมีทักษะ ในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเพศศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  3. เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้คุณค่าของตนเอง
  4. มีเครือข่ายดูแลสุขภาพในโรงเรียน
  5. อัตราการคลอดในหญิงอายุ 15-19 ปี ลดลง
  6. การตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2561 08:16 น.