กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างภูมคุ้มกันให้แก่เด็ก เยาวชนและสมาชิกในครอบครัว
รหัสโครงการ 62-L5215-2-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองเขารูปช้าง
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กรกฎาคม 2562
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปวเรศ สีสด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.154,100.612place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 มี.ค. 2562 25 มิ.ย. 2562 80,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ถือเป็นปัญหาที่สำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จากข้อมูลผู้มาขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ของกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองเขารูปช้าง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 – ปีงบประมาณ 2561 พบว่าจำนวนผู้ที่มาขึ้นทะเบียนทั้งหมด มีมารดาวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15 -20 ปี คิดเป็น 1 ใน 4 ของผู้มาขึ้นทะเบียนหรือคิดเป็นร้อยละ 25 และยังพบว่าในกลุ่มนี้มักมีการตั้งครรภ์ซ้ำอีกด้วย ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอย่างมากมาย ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ไม่ว่าจะกับตัวของวัยรุ่นเอง ครอบครัว และสังคม เช่น การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การขาดโอกาสทางการศึกษา ปัญหาคุณภาพของประชากรต่ำ ปัญหาสุขภาพมารดาและทารก ปัญหาการทอดทิ้งเด็ก เป็นต้น ซึ่งส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ส่งเสริมให้วัยรุ่นไทยมีเพศสัมพันธ์หรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ก็มาจากปัจจัยเสริมจากภายนอก ทั้งจากตัวของครอบครัวและเพื่อนรอบข้าง โดยพบว่าจากผลการศึกษาที่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น แสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นที่มีสัมพันธภาพครอบครัวที่ไม่ดีหรือขาดการเอาใจใส่จากครอบครัว มักมีโอกาสที่จะมีเพศสัมพันธ์มากกว่าวัยรุ่นที่มีสัมพันธภาพของครอบครัวที่ดี เนื่องจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองไม่ได้ให้คำแนะนำหรือสั่งสอนในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมในเรื่องเพศ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าในปัจจุบันวัยรุ่นที่ไม่ได้อยู่กับพ่อและแม่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดครอบครัวข้ามรุ่น (ผู้สูงอายุกับเด็กอยู่ร่วมกัน) จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยของคนในครอบครัวที่ห่างกัน ส่งผลให้มีปัญหาการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกันมากขึ้น จึงทำให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ในขณะเดียวกัน เพื่อนหรือคนรอบข้าง ก็ถือว่ามีอิทธิพลกับวัยรุ่นค่อนข้างมาก เนื่องจากมีความสนิทใกล้ชิดและได้ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ จนทำให้วัยรุ่นเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ และมีอิทธิพลต่อความคิดของวัยรุ่นมากกว่าคนในครอบครัว ซึ่งอาจเกิดการชักนำกันไปในทางที่ไม่เหมาะสมได้     ดังนั้นการส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับวัยรุ่น มีทัศนคติที่ดีและมีทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศอย่างสร้างสรรค์ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อันเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับวัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม รวมทั้งเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงและปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้ทั้งนี้ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติพ.ศ.2560-2569 ตามพ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพ.ศ.2559 ด้วย     สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพราะถ้าหากเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นวัยที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ขาดการเตรียมความพร้อมและทักษะชีวิตที่เหมาะสม ก็ย่อมส่งผลให้ชุมชนและประเทศมีความอ่อนแอตามไปด้วย จึงได้จัดทำโครงการ “เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว ในการลดปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นและผลกระทบจากการใช้ชีวิตช่วงวัยรุ่นอื่นๆ เช่น ยาเสพติด ความรุนแรง เป็นต้น
  1. ปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นและผลกระทบจากการใช้ชีวิตช่วงวัยรุ่นลดลงน้อยกว่าร้อยละ 25
0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว มีความรู้ความเข้าใจด้านเพศวิถีศึกษา และทักษะชีวิตในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  1. เด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว มีความรู้ความเข้าใจด้านเพศวิถีศึกษา และทักษะชีวิตในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น        ร้อยละ 80
0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมบทบาทของครอบครัวในการเลี้ยงดู สร้างสัมพันธภาพ มีทัศนคติเชิงบวกและสามารถสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น
  1. ครอบครัวมีทัศนคติเชิงบวกและสามารถสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศกับบุตรหลานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
0.00
4 4. เพื่อให้เด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว นำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลกับเพื่อนๆในสถานศึกษา
  1. เกิดเครือข่ายในการทำงานที่สามารถนำความรู้ไปขยายผลต่อเพิ่มมากขึ้น ไม่น้อยกว่า 3 เครือข่าย/องค์กร
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 399 80,000.00 3 48,150.00
26 มี.ค. 62 - 20 มิ.ย. 62 สัมมนาส่งเสริมทักษะการสื่อสารเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์ในครอบครัว 90 49,000.00 21,400.00
27 มี.ค. 62 - 18 ก.ย. 62 อบรมให้ความรู้เด็กและเยาวชนเรื่อง การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ 189 20,000.00 15,750.00
25 มิ.ย. 62 จัดนิทรรศการเรื่องสุขภาวะทางเพศและทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับวัยรุ่น 120 11,000.00 11,000.00

วิธีดำเนินการ 1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินการ 2. เสนอโครงการ 3. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ   - การรณรงค์/จัดนิทรรศการเรื่องสุขภาวะทางเพศและทักษะชีวิตที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น   - สัมมนาอบรมให้ความรู้เด็กและเยาวชนเกี่ยวกับทักษะชีวิตวัยรุ่นในการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น/ปัญหาอื่นๆ   - สัมมนาส่งเสริมทักษะการสื่อสารเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์ในครอบครัว 4. ติดตามประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัวสามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและผลกระทบจากการใช้ชีวิตช่วงวัยรุ่นได้อย่างเป็นอย่างดี 2. เด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว ได้รับความรู้ความเข้าใจด้านเพศวิถีศึกษา และทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับวัยรุ่น 3. ครอบครัวมีทัศนคติเชิงบวกและมีทักษะการสื่อสารในครอบครัวที่เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงดูและการสร้างสัมพันธภาพที่ดี 4. มีการขยายผลต่อในกลุ่มเด็ก เยาวชน และพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผ่านเครือข่ายการทำงานที่เกิดขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2561 08:45 น.