กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2562
รหัสโครงการ 2562-L6896-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 22 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 129,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวาน,ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง เป็นโรคเรื้อรังที่สำคัญ และเป็นปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดตรัง เนื่องจากเป้นโรคที่รักษาไม่หายขาดและต้องรักษาอย่างต่อเนื่องหากมีการดูแลตนเองไม่ถูกต้องจนเกิดภาวะแทรกซ้อน จากสถิติ การเจ็บป่วยของู้รับบริการในเขตเทศบาลนครตรัง 5 อันดับโรค ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลตรัง มีดังต่อไปนี้ 1.โรคความดันโลหิตสูง 2,042 คน 2.โรคเบาหวาน 1,011 คน 3.โรคหัวใจ 1,001 คน 4.โรคหลอดเลือดสมอง 517 คน 5. โรคมะเร็ง 507 คน ชุมชนในเขตเทศบาลนครตรัง มีองค์กรในชุมชนที่สำคัญในการขับเคลื่อนด้านสุขภาพภาคประชาชนที่เข้มแข็งคือ อาสาสมัครสาธารณสุข และจากการคัดกรองประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไปประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และยังพบผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ชุมชนในเขตเทศบาลนครตรังมีผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และได้รับยาอยู่ในชุมชน พร้อมทั้งให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพทั้งสิ้น จำนวน 806 คน และผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ขาดยา รับยาไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากติดภารกิจ และเป็นทั้งผู้สูงอายุ และผู้พิการ ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิต
กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรังได้ตระหนักถึงปัญญา รวมถึงกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนาคุณภาพบริการในด้านต่างๆ ที่เน้นผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลางอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพและการนำเอาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพสูงสุดเนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มักมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้นตามมา จำเป็นต้องได้รับการดูแลเฉพาะและต่อเนื่องในบริบทและสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยและครอบครัวโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สามารุดูแลตนเองได้ มีความเข้าใจในโรคและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่ดี โดยให้มีทีมสหวิชาชีพให้บริการคลินิกชุมชนแบบ one stop service และให้การดูแลต่อเนื่องที่บ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันพึงประสงค์แก่ผู้ป่วยและครอบครัว และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำกิจกรรมด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดัน/เบาหวาน)ตามเกณฑ์มาตรฐานต่อเนื่องและเป็นองค์รวม

ผู้ป่วยเรื้อรังในเขตเทศบาลนครตรังเข้าร่วมโครงการและได้รับ การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากโรคเรื้อรัง

ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูบร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1572 129,240.00 3 119,735.00
1 ธ.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนแบบองค์รวม (1.1จัดทำเอกสารแฟ้มผู้ป่วยและแบบฟอร์ม เอกสารข้อมูลประจำตัวผู้ป่วย) 806 11,840.00 11,815.00
1 ธ.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนแบบองค์รวม (1.2 กิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรังแบบองค์รวมในชุมชน) 766 114,900.00 105,420.00
1 ธ.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัว โดยการเยี่ยมบ้านในชุมชนหลังให้บริการ 0 2,500.00 2,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังใน11ชุมชนเขตเทศบาลนครตรัง เข้าร่วมโครงการและได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นองค์รวมและได้มาตรฐาน 2.ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2561 15:25 น.