กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการขยะในโรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 61 – L7452 – 2 – 29
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิจังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2562
งบประมาณ 52,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมูนีเร๊าะ เจ๊ะปอ ชมรมสิ่งแวดล้อมโรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอรุณรัศมิ ฮิแต ที่ปรึกษาชมรมสิ่งแวดล้อม โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 430 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 430 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดมลพิษส่งเสริมสุขภาพดีในปี2561นั้นมีผู้เข้าอบรมทั้งหมดจำนวน 400 คน คิดเป็นร้อยละ 100ผลจากการทดสอบความรู้ที่ได้รับหลังการอบรมคิดเป็นร้อยละ 93.66ซึ่งทั้ง 3ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณและตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ตามลำดับ ส่วนตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่ยังไม่ผ่าน คือ ขยะในโรงเรียนลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ มีนักเรียนทั้งหมด 1,240 คนและบุคลากรจำนวน 130 คน พบว่าโรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ ยะลามีปริมาณขยะ มูลฝอยที่ลดลงจากเดิม113กก. /วันเหลือ 79.1กิโลกรัม/วันคิดเป็นอัตราขยะที่ลดลงร้อยละ 30 (ไม่ผ่านตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ) และคิดเป็นอัตราการเกิดขยะ0.06 กิโลกรัม/ คน /วันซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมเก็บและขนขยะเดือนละ 3,000 บาท สาเหตุที่ขยะลดลงแค่เพียงร้อยละ 20 นั้น เนื่องจากนักเรียนและบุคลากรบางส่วนยังติดนิสัยมักง่ายและขาดจิตสำนึกซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้น โดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ หรือแม้กระทั่งการซื้อของใช้สิ่งของของนักเรียนเช่น ขนม กระดาษ แก้วน้ำ ขวดน้ำ โดยใส่ถุงพลาสติกหลายๆถุงนักเรียนและบุคลากรเหล่านั้นมองข้ามถังขยะไม่ยอมทิ้งลงถัง มีแต่ความมักง่ายที่ชอบซุกขยะไว้บริเวณรอบๆตนเอง เช่น โต๊ะหินอ่อน โต๊ะนักเรียน บนพื้น หรือแม้แต่ต้นไม้ที่เป็นซอกเป็นรูยังสามารถสอดเข้าไป ทำให้ขยะยังคงลดลงได้ไม่มากทางโรงเรียนจึงมีการออกมาตรการโดยการเดินตรวจชั้นเรียนของผู้บริหาร หากพบขยะในชั้นเรียนใดแล้ว ชั้นเรียนดังกล่าวต้องมาเสียค่าปรับ ณ ห้องธุรการโรงเรียนทำให้ขยะลดลงเหลือ 80 กก. /วัน การดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมาทำให้ทราบถึงช่องโหว่ที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันสร้างจิตสำนึกในการลดปริมาณขยะจะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะตั้งแต่การเก็บรวบรวม ขนส่ง การคัดแยกและใช้ประโยชน์ ตลอดจนการกําจัดขั้นสุดท้าย ลดปัญหาสภาวะสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบ รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนทางชมรมสิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนฯ จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนปลอดมลพิษพิชิตสุขภาพดีขึ้นในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อปลูกจิตสำนึกและให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องขยะมีประโยชน์
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ100
100.00
2 2. เพื่อให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและลดปริมาณขยะ
  1. ผลการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการกำจัดขยะร้อยละ 80
  2. ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
30.00
3 3. เพื่อให้นักเรียนรับรู้ และตระหนักถึงปัญหาเรื่องผลกระทบจากขยะต่อสิ่งแวดล้อม
  1. ผลการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรมมีจิตสำนึกตระหนักถึงปัญหาเรื่องผลกระทบทางขยะและประโยชน์จากขยะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00
4 4. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องแนวทางให้การปฏิบัติตนเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องขยะได้
  1. ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00
5 5. เพื่อควบคุมไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  1. สำรวจแหล่งน้ำในโรงเรียนไม่พบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52,350.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่1 จัดประชุมเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องร่วมกับคณะอาจารย์ เพื่อชี้แจงการจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการขยะในโรงเรียน จำนวน 30 คน ระยะเวลาครึ่งวัน 0 1,450.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 30 คน ร่วมกับผู้เข้าอบรม กลุ่มที่ 1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 200 คน ระยะเวลา ครึ่งวัน เช้า กลุ่มที่ 2 นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 200 คน ระยะเวลา ครึ่งวัน บ่าย รวมทั้งสิ้น 43 0 50,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นบุคคลที่มีจิตสำนึกดีและสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ได้
  2. นักเรียนสามารถหารายได้เสริมจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้
  3. นักเรียนสามารถจำแนกขยะได้ถูกต้อง
  4. ลดปริมาณขยะในโรงเรียน
  5. ปราศจากแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2561 11:11 น.