กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันภัยจากยาสูบของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 61 – L7452 – 2 – 32
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม TO BE NUMBERONEโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง จังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2562
งบประมาณ 122,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบุตรธิกรณ์ จุลพล ผู้รับผิดชอบโครงการ อย.น้อยโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา
พี่เลี้ยงโครงการ นายวสันต์ จุลพล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไป โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น จากผลการศึกษาวิจัยเมื่อปี พ.ศ.2550 ในวัยรุ่น พบว่ามีปัญหาการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นในอัตราที่สูง การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดผลเสียหายหลายประการทั้งต่อตัวผู้สูบเองโดยตรงและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ โดยพบว่าบุหรี่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคต่างๆมากกว่า 25 โรค เช่นโรคมะเร็งปอด โรคหอบหืด เป็นต้น นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวและสังคม บุหรี่ยังได้ชื่อว่าเป็นทางผ่าน (gateway drug) ของการใช้สารเสพติดตัวอื่นๆด้วย ที่สำคัญฤทธิ์ของบุหรี่ก่อให้เกิดการเสพติด วัยรุ่นที่มีโอกาสทดลองสูบบุหรี่แม้เพียงครั้งหรือสองครั้งจะมีโอกาสกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ติดบุหรี่ได้มาก และแม้ว่าวัยรุ่นเหล่านี้จะมีความตั้งใจในการเลิกสูบุหรี่ ก็พบว่ามีเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่สามารถเลิกได้สำเร็จ ยิ่งไปกว่านั้นวัยรุ่นที่เริ่มต้นสูบบุหรี่เมื่ออายุน้อยกว่าจะสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ยากกว่าวัยรุ่นที่เริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุมากว่า ดังนั้น การป้องกันมิให้วัยรุ่นได้เริ่มทดลองสูบบุหรี่จึงเป็นสิ่งสำคัญ
จากรายงานข้อมูล HDC (Health Data Center : ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ปี 2560 งานการเฝ้าระวัง ในการสำรวจความชุกของผู้สูบบุหรี่ของประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลนครยะลา พบว่าประชาชนไทยอายุ 15-70 ปี จำนวน 35,494 คน พบผู้สูบบุหรี่จำนวน 1,271 คน คิดเป็นร้อยละ 3.58 และนักเรียนในโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง จำนวน 2200 คน พบผู้สูบบุหรี่ 150 คน คิดเป็นร้อยละ 6.82 จะเห็นได้ว่าความชุกของผู้สูบบุหรี่อยู่ในอัตราที่สูง และเป็นสถานการณ์ปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไข จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว งานอย.น้อยโรงเรียนในนามเครือข่ายชมรม TO BE NUMBER ONE รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการช่วยเหลือให้นักเรียนโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา ได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่และมีแนวทางในการดำเนินโครงการในโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนปลอดบุหรี่เพื่อสุขภาวะที่ดีของนักเรียนและสังคมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ของนักเรียนและ บุคลากรที่เป็นนักสูบหน้าเก่าในโรงเรียน
  1. ผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ80
  2. อัตราการสูบบุหรี่ของนักเรียนและบุคลากรที่เป็นนักสูบหน้าเก่าในโรงเรียนลดลงร้อยละ 30
30.00
2 2. เพื่อลดอัตราการเพิ่มของกลุ่มเสี่ยงหรือนักสูบ หน้าใหม่
  1. อัตราการเพิ่มของกลุ่มเสี่ยงหรือนักสูบหน้าใหม่น้อยกว่าร้อยละ 20
20.00
3 3. เพื่อลดอัตราการสูบของสมาชิกหน้าเก่าใน ครอบครัวของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียน
  1. อัตราการสูบของสมาชิกในครอบครัวหน้าเก่าของนักเรียน และบุคลากรโรงเรียนลดลงร้อยละ 30
30.00
4 4. ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องพิษภัยของบุหรี่
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องพิษภัยของบุหรี่ร้อยละ 80
80.00
5 5. ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านงบสนับสนุนของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  1. ผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ80
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 122,975.00 0 0.00
??/??/???? จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกับคณะอาจารย์ เพื่อชี้แจงการจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและบุคลากรกับยาสูบโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง จังหวัดยะลาจำนวน 50 คน 0 2,250.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ที่เป็นนักสูบหน้าเก่า) จำนวน 120 คน และ นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ที่เป็นนักสูบหน้าเก่า) จำนวน 110 คน รวมเป็น 230 คน ระยะเวลา 1 วัน 0 63,725.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นนักสูบหน้าใหม่) จำนวน 80 คน นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นนักสูบหน้าเก่า) จำนวน 100 คน รวมเป็น 180 คน ระยะเวลา 1 วัน 0 36,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 4 เดินรณรงค์งดสูบบุหรี่โดยนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย 500 คน 0 21,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้เรื่องโทษและอันตรายจากยาสูบ
  2. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีภูมิป้องกันและทักษะปฏิเสธการเชิญชวนสูบบุหรี่
  3. จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่เป็นนักสูบของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนลดลง
  4. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และวิธีการที่ได้จากฐานการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับตนเองเพื่อเลิกบุหรี่
  5. นักสูบในโรงเรียนมีจำนวนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2561 11:39 น.