กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ห่วงใยสตรี ช่วยชีวียืนยาว
รหัสโครงการ 60-L3360-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านลำ
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กุมภาพันธ์ 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 14,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านลำ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยลักษณ์ ผะดุง
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.บ้านลำ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.556,100.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในสตรีรองลงมาคือมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอัตราตายด้วยมะเร็งปากมดลูกลดลงเนื่องจากมีการตรวจวินิจฉัยค้นหามะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smear เพื่อให้การรักษาความผิดปกติเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะรุนแรงลดลง ซึ่งจากการศึกษาขององค์กรวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ(IARC) พบว่า การที่จะลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งนั้น ถ้าสามารถตรวจให้ครอบคลุมประชากรได้จำนวนมากเท่าไร จะลดอัตราการตายได้ดีกว่าความถี่ของการที่สตรีไปรับการตรวจกล่าวคือถ้าสามารถทำการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกให้ได้ครอบคลุมจำนวนประชากรร้อยละ 80 โดยการทำ Pap Smear ทุกปี จะลดอัตราการตายจากมะเร็งปากมดลูกได้61 %และหากทำการตรวจทุก 3 ปี จะลดลงได้ 61%หรือถ้าทำการตรวจทุก 5 ปีจะสามารถลดลงได้ 55% ซึ่งในทางกลับกันแม้ว่า จะทำการตรวจได้ครอบคลุมประชากร 30% และสามารถตรวจให้สตรีได้ทุกๆปีก็ตามกลับสามารถลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้เพียง 15% เท่านั้น ดังนั้นการที่จะให้สตรีได้รับการทำ Pap Smear ได้ครอบคลุมให้มากที่สุด จึงเป็นการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้ทุกพื้นที่ดำเนินงานตามโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ๓๐ - 60 ปีและสตรีที่มีอาการของโรคมะเร็งปากมดลูกทุกคนให้ได้รับการตรวจ Pap Smear โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายอันจะสามารถช่วยลดปัญหาอัตราป่วยตายของสตรีด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีอายุ 3๐ - 60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการตรวจหามะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smear

 

2 2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรกโดยการตรวจคัดกรองทำ Pap Smear ให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐานและทันท่วงที

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 14,100.00 1 14,100.00
1 ก.พ. 60 - 31 ส.ค. 60 อบรม 100 14,100.00 14,100.00
  1. เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงาน และขออนุมัติดำเนินการ
  2. ประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อขอสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และบุคคลากร
  3. ประชุมชี้แจงแก่อสม. เพื่อติดตามสตรีกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการตรวจ Pap Smear ตามวันเวลาที่กำหนด
  4. ค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรกโดยการตรวจดัดกรองทำ Pap Smear เพื่อส่งเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐานและทันท่วงทีตามวันเวลาที่กำหนด
  5. อบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังและป้องกันมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมาย ๑๐๐ คน (๒๐ % ของสตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปีในเขตรับผิดชอบของสถานบริการ)
  6. ติดตามผลการตรวจ / ส่งตัวรักษาต่อผู้ที่มีผลการตรวจผิดปกติ
  7. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมารับบริการตรวจคัดตรวจมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ๒. อัตราการป่วย/ตายของสตรีด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2560 14:52 น.