กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ Smart living for teens : เยาวชนแม่เตยยุคใหม่ อนาคตก้าวไกลด้วยสุขภาวะทางปัญญา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านแม่เตย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 26 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 พฤศจิกายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,205.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กและเยาวชนหมายถึงบุคคลที่มีอายุระหว่าง 7-24 ปี (พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติปี พ.ศ.2550, 2553) เป็นวัยแห่งการเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย การเจริญพันธ์ จิตใจ อารมณ์ สังคม ความคิดสร้างสรรค์ และสติปัญญา (Sawyer, Afifi, Bearinger, Blakemore, Dick, Ezeh& Patton, 2012) เมื่อเปรียบเทียบกับทุกวัย เด็กและเยาวชนเป็นวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง เริ่มมีความคิดในการค้นหาเป้าหมายในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่วัยผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และมีอนาคตที่ดีนอกจากนี้เด็กและเยาวชนยังเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศและขับเคลื่อนประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงมีความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยคนรุ่นใหม่ 1 คน ต้องทำงานเลี้ยงดูคนอื่นๆอีก 2 คนในอนาคตอันใกล้นี้ (กระทรวงสาธารณสุข, 2560) อย่างไรก็ตามด้วยเด็กและเยาวชน เป็นวัยที่อยากรู้อยากลองและรู้สึกพึงพอใจในสิ่งที่แปลกใหม่ แม้ว่าในวัยนี้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น สามารถคิดหาเหตุผล แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ แต่ก็มีข้อจำกัดเนื่องจากในวัยนี้สมองส่วน cerebral cortex และสมองส่วน prefrontal cortex ที่ทำหน้าที่ในการประมวลความคิดอย่างเป็นระบบ และความรู้สึกยับยั้งชั่งใจยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงส่งผลให้การกระทำของเด็กและเยาวชนมักขึ้นอยู่กับอารมณ์มากกว่าเหตุผล มีความรู้สึกว่าเพื่อนมีความสำคัญและต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน จึงทำให้วัยนี้สามารถถูกชักจูงไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ง่าย (Rakluke Social Learning[RSL], 2559) และนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ และการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยจากการสำรวจประชากรในประเทศไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในปี 2558 พบว่าร้อยละ 34 มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และจากอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรในประเทศไทยปี พ.ศ.2560 พบว่าในจำนวนประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งสิ้น 55.9 ล้านคน มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด 10.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.1 (ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, 2561) และเด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยที่ยังไม่มีความรู้ในการป้องกันตนเอง ซึ่งอายุต่ำสุดของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก คือ 12 ปี มักเป็นประสบการณ์ทางเพศที่ขาดความรับผิดชอบและไม่ปลอดภัย ที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจภาวะสุขภาพ พฤติกรรมการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ของประชาชนในชุมชนจำนวน 30 ครัวเรือนของประชาชน หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยของนักศึกษา ที่พบว่า สมาชิกในครอบครัวดื่มสุรา ร้อยละ 86.84 โดยอายุน้อยที่สุดที่เริ่มดื่มสุราอายุเพียง 15 ปี และมักดื่มต่อเนื่องจนเกิดเป็นการติดสุราในที่สุด และมีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ ร้อยละ 85.01 โดยอายุน้อยที่สุดที่เริ่มสูบบุหรี่มีอายุเพียง 14 ปี นอกจากนี้จากการประชุมหมู่บ้าน ณ หมู่ที่ 1 บ้านแม่เตย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชน และบุคลากรทีมสุขภาพในตำบลท่าข้าม รวมทั้งสิ้น 16 คน ได้มีมติที่ประชุมว่า ชุมชนมีความต้องการให้จัดโครงการที่ป้องกันการมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุราของเด็กและเยาวชนภายในชุมชน โดยสาเหตุสำคัญของปัญหา เกิดจากการที่เด็กและเยาวชนมีต้นแบบที่ไม่ถูกต้อง และการมีค่านิยมที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง
ดังนั้นผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชน และบุคลากรทีมสุขภาพ ตำบลท่าข้าม ร่วมกับนักศึกษา จึงได้จัดทำโครงการ “Smart living for teens : เยาวชนแม่เตยยุคใหม่ อนาคตก้าวไกลด้วยสุขภาวะทางปัญญา”เพื่อให้เด็กและเยาวชน มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของบุหรี่และสุราที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชนมีทักษะในการป้องกันการเกิดพฤติกรรมเสี่ยง มีพลังที่จะดำเนินชีวิต ซึ่งนำไปสู่การมีภูมิคุ้มกันในตนเอง (Balthip & Chandrema, 2013) พร้อมที่จะเผชิญปัญหาและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปได้อย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,205.00 0 0.00
??/??/???? 1.ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 560.00 -
??/??/???? 2.ลงทะเบียน 0 1,365.00 -
??/??/???? 3. กิจกรรมเส้นทางสู่ฝันของฉัน 0 2,376.00 -
??/??/???? 4. กิจกรรมห้องแห่งความลับกิจกรรมห้องเรียนสีขาว 0 996.00 -
??/??/???? 6. กิจกรรมฟุตบอลกระชับมิตร 0 408.00 -
??/??/???? 6. กิจกรรมนำเสนอผลงานเส้นทางสู่ฝันของฉัน 0 1,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ดำเนินชีวิตโดยห่างไกลจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา บนพื้นฐานของการมีคุณธรรมจริยธรรม มีเป้าหมายชีวิต มีภูมิคุ้มกันในตนเอง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนในชุมชนต่อไป
  2. เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับแก่เด็กและเยาวชนกลุ่มอื่น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561 00:00 น.