กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ โรงพยาบาลพัทลุง ปี2562
รหัสโครงการ 2562-L7572-01-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ
วันที่อนุมัติ 10 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 28,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนันทิยา พานิชายุนนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 360 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคเบาหวานเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมานจากโรคและต้องการรักษาตลอดชีวิต ถ้าควบคุมโรคไม่ดีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังกับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายได้ โดยอุบัติการณ์ของโรคมีแนวโนมเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในสถานบริการเครือข่ายโรงพยาบาลพัทลุงพบว่าโรคเบาหวานเป็นสาเหตุเจ็บป่วยและการตาย 5 อันดับแรก นอกจากนี้การเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานทำให้วิถีชีวิตผู้ป่วยเปลี่ยนไปโดยทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา เสียรายได้เป็นภาระของครอบครัวและสังคม รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตลดลง โรคเบาหวานมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญหลายประการด้วยกัน ได่แก่ อายุ ปัจจัยทางพันธุกรรม ภาวะอ้วน และพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เมหาะสมการดูแลตนเองเป็นการควบคุมภาวะของโรคจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับปัจจัยภายนอกและภายในได้แก่ ด้านความรู้ ทัศนคติ ประสบการณ์ ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ครัวครัว และชุมชน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองให้เหมาะสม การรับรู้ถึงอันตรายและหาวิธีปฏิบัติเพื่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคอย่างถูกต้อง

ศูนย์แพทย์ดอนยอ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวาน ศูนย์แพทย์ดอนยอ โรงพยาบาลพัทลุง ขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน ประเทศ และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอย่างน้อยปีละครั้ง

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยการตรวจประสาทตา าุขภาพช่องปาก เท้า อย่างละเอียด และ คัดกรองวัณโรค ภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 60

60.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อควบคุมโรค

ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,950.00 3 27,590.00
5 - 31 ม.ค. 62 ประชาสัมพันธ์ โครงการ นัดผู้ป่วย จัดซื้ออุปกรณ์ 0 17,650.00 5,040.00
25 ม.ค. 62 - 30 มิ.ย. 62 คัดกรองภาวะแทรกซ้อน 0 10,800.00 22,050.00
1 ก.ย. 62 สรุปผลการดำเนินงาน 0 500.00 500.00

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชาสัมพันธ์โครงการโดยการประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อสม. แกนนำชุมชน ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ ห้องตรวจตา และทันตกรรม 1.2 นัดผู้ป่วยเบาหวานในสถานบริการทุกวันพฤหัสบดี เพื่อให้ได้มารับบริการตรวจหาภาวะแทรกซ้อนทางตา เท้า และ สุขภาพช่องปาก 1.3 จัดซื้อจัดจ้างอุปการณ์ในการจัดบอร์ดนิทรรศการและเอกสารความรู้ เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน บริเวณหน้าอาคารศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ 1.4 ติดต่อเช่าเต็นท์ และเก้าอี้สำหรับผู้ป่วยนั่งรอรับบริการ

2.ขั้นดำเนินการ จัดกิจกรรมคัดกรองภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน จำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ ครึ่งวัน 2.1 ประเมินความรู้ก่อนเข้าร่วมโครงการ 2.2 ให้ความรู้เป็นรายกลุ่ม รายบุคคล บอดร์ดนิทรรศการ เกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน 2.3 ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน เท้า ตรวจสุขภาพในช่องปาก คัดกรองวัณโรค และ ภาวะซึมเศร้า 2.4 ผู้ป่วยที่พบว่าผลผิดปกติได้นัดเพื่อดูการรักษา ส่งต่อตามเกณฑ์ ภายใน 1 เดือน 2.5 ประเมินความรู้หลังเข้าร่วมโครงการ และประเมินความพึงพอใจ 2.6 บันทึกข้อมูลการตรวจต่างๆในโปรแกรม HOOSOS 3.ขั้นประเมินผลและสรุปโครงการ 3.1 ผู้ป่วยได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน โดยการตรวจจอประสาทตา สุขภาพช่องปาก เท้า อย่างละเอียด และ คัดกรองวัโรค ภาวะซึมเศร้า ครบถ้วน 3.2 ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยการตรวจจอประสาทตา สุขภาพช่องปากและเท้า อย่างละเอียด และคัดกรองวัณโรค ร้อยละ 60 เมื่อสิ้นสุดโครงการ 3.3 สรุปรูปเล่มโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561 11:46 น.