กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี เริ่มต้นด้วยอาหาร ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 2562-l7255-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านเก่า
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 พฤศจิกายน 2561 - 31 มกราคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2562
งบประมาณ 38,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฟัยซอล บิลโส๊ะ รองประธานอาสาสมัครสาธารณสุข ชุมชนบ้านเก่า,นายขวัดต๊ะ ทองนิตย์ เลขาอาสาสมัครสาธารณสุข ชุมชนบ้านเก่า,นายมะมูด สวัสดี ประธานอาสาสมัครสาธารณสุข ชุมชนบ้านเก่า
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.คลองแห,กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม,กองสวัสดิการสังคม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.055,100.48place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 พ.ย. 2561 31 ม.ค. 2562 38,000.00
รวมงบประมาณ 38,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ
50.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ
60.00
3 ร้อยละพื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผัก ผลไม้) ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด
20.00
4 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์
20.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการจัดเก็บพันธุ์ข้าว ผัก และมีการเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ปู ในชุมชน
20.00
6 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรัง คือ โรคที่เมื่อเป็นแล้วมักไม่หายขาดผู้ป่วยจะเป็น ๆ หาย ๆ ต้องรักษาหรือกินยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคเหล่านี้ทางการแพทย์ถือว่าเกี่ยวพันเป็นสาเหตุซึ่งกันและกันและการดูแลรักษาต้องทำไปพร้อม ๆ กัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือต้องป้องกันมิให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้ขึ้นในประชากรเพราะทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงที่จะเกิดตามมา คือ โรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของคนไทย โรคเรื้อรังมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของคนเราเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำรงชีวิตและการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสการพัฒนาจากสังคมชนบทสู่สังคมเมืองและอิทธิพลที่ได้รับจากวัฒนธรรมภายนอกในยุคโลกไร้พรมแดน ตัวอย่างเช่น คนไทยซึ่งแต่เดิมกินอาหารหลัก คือ ข้าว ผัก และปลา และดำเนินชีวิตอยู่ในสวน ไร่นา ใช้กำลังแรงงานในการประกอบอาชีพมีความสุขกายสบายใจในความเป็นอยู่แบบพอเพียงในชนบท เมื่อพลิกผันมาอยู่ในสังคมเมืองต้องมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบทำให้ไม่มีเวลาพอที่จะปรุงอาหารประจำวันจากผลผลิตธรรมชาติและใช้ชีวิตในวิถีธรรมชาติ นอกจากนี้ระบบการค้าเสรีในสังคมยุคใหม่ทำให้มีการระดมผลิตและโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มเพื่อจูงใจผู้บริโภคทั้งกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่อย่างมากมาย เช่น อาหารจานด่วนที่มีสารอาหารไม่ครบหมู่ มีแป้ง ไขมัน และน้ำตาล มากเกินไป เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูงมีสารปรุงแต่งที่มีพิษภัยต่อสุขภาพรวมทั้งของกินเล่นแบบกรุบกรอบ ชวนให้กินจนเกินความต้องการของร่างกาย ชีวิตในเมืองที่เร่งรีบและผลจากการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่งทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปโดยกินอาหารไม่ครบ ๕ หมู่ อาหารมีส่วนผสมของไขมัน แป้ง น้ำตาล สูงเกินความต้องการและไม่เป็นไปตามหลักโภชนาการ นอกจากนี้คนยุคใหม่ยังมีความเครียดจากการแข่งขันสูงและขาดการออกกำลังกายที่จะช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน
เพราะฉะนั้นการตระหนักถึงอาหารในการบริโภคในแต่ละมื้อ เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย หรือกลุ่มเสี่ยง มีสุขภาพที่ดีขึ้น เครือข่ายสาธารณสุข เทศบาลเมืองคลองแห ชุมชนบ้านเก่า และเครือข่ายสาธารณสุขฯ ใกล้เคียง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคเรื้อรัง จึงได้จัดทำโครงการ "โครงการสุขภาพดี เริ่มต้นด้วยอาหาร " ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

50.00 45.00
2 ลดพฤติกรรมดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวานจัด

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ

60.00 50.00
3 เพิ่มพื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผัก ผลไม้)

ร้อยละพื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผัก ผลไม้) ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด

20.00 20.00
4 เพิ่มครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์

ร้อยละของครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์

20.00 20.00
5 เพิ่มครัวเรือนที่มีการจัดเก็บพันธุ์ข้าว ผัก และมีการเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ปู ในชุมชน

ร้อยละครัวเรือนที่มีการจัดเก็บพันธุ์ข้าว ผัก และมีการเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ปู ในชุมชน

20.00 20.00
6 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

50.00 35.00
7 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

มีให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

50.00
8 เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการหันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและสามารถทำได้เอง

ผู้เข้าร่วมโครงการหันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและสามารถทำได้เอง

50.00
9 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว

ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,000.00 1 38,000.00
1 - 31 ม.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเฉพาะโรค ทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ 0 38,000.00 38,000.00

1 จัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห เพื่อพิจารณาอนุมัติ 2 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ 3 จัดซื้อ จัดหา จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นตามโครงการ 4 ประสานติดต่อ สถานที่และวิทยากรสำหรับจัดกิจกรรมตามโครงการฯ 5 ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครผู้เข้าร่วมภายในชุมชน และชุมชนใกล้เคียง ที่มีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ
6 จัดกิจกรรมให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
7 ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ 8 หลังจากเข้ารับการฝึกอบรม ผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งถือว่าเป็นแกนนำด้านสุขภาพ ระดับชุมชน 9 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการให้ผู้บริหารฯและคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแหทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1มีความรู้ความเข้าใจในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ 2 ผู้เข้าร่วมโครงการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและสามารถทำได้เอง 3 ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2561 11:11 น.