กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์การให้วัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็ก 0-5 ปี
รหัสโครงการ 62-L4157-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 11 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 มกราคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2562
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาลีนา เด่นอุดม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.498,101.536place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หลังพบผู้ป้วยโรคหัดอย่างต่อเนื่องและมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนประปราย ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2558
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เดือนประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กใน 3 จังหวัดยะลาเผ้าระวังป้องกันโรคหัด หลังพบผู้ป่วยโรคหัดอย่างต่อเนื่อง และมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนประปราย ตั้งแต่ช่วงเดือน ธันวาคม 2558
  ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคหัดในจังหวัดยะลามีการเกิดโรคหัดอย่างต่อเนื่องและมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนประปรายในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมของวัคซีนต่ำ พบสัดส่วนการระบาดที่สูงในกลุ่มเด็ก จากรายงานจำนวนผู้ป่วยโรคหัดในจังหวัดยะลา ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ข้อมูลในช่วงวันที่ 1 มกราคม - 13 พฤศจิกายน 2561 พบมีผู้ป่วยจำนวน 1,245 ราย อัตราป่วย 275.83 ต่อประชากรแสนคน และมีเสียชีวิตจำนวน 5 ราย อัตราป่วยตาย 0.80 โดยอำเภอที่มีจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต คืออำเภอบันนังสตา จำนวน 2 ราย อำเภอธารโต จำนวน 2 ราย และอำเภอกาบัง 1 ราย ส่วนอำเภอรามันมีจำนวนผู้ป่วยหัด จำนวน 111 ราย ยังไม่พบผู้ป่วยที่เสียชีวิต ส่วนตำบลจะกว๊ะพบผู้ป่วยจำนวน 9 ราย ในเด็กอายุ 0 - 5 จำนวน 6 ราย ประวัติวัคซีนไม่ครบ 5 ราย วัคซีนครบ 1 ราย ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป จำนวน 3 ราย   โรคหัดเป็นโรคไข้ออกผื่น พบได้ทุกวัย และพบได้บ่อยในเด็กเล็ก อายุ 1-6 ปี เกิดจากเชื่้อไวรัส Measles ซึ่งพบได้ในจมูกและลำคอของผู้ป่วย ติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยการไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย และเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศเมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้ ถ้าไม่มีภูมิต้านทาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป้นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และปัจจุบันพบผู้ป่วยเป็นเด็กที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป มากขึ้น นอกจากนี้โรคหัดยังอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้   อาการของโรคหัด เริ่มด้วยมีไข้ น้ำมุูกไหล ไอ ตาแดง ตาแฉะและกลัวแสง อาการต่าง ๆ จะมากขึ้นพร้อมกับไข้สูงขึ้น และจะสูงขึ้นเต็มที่เมื่อมีผื่นขึ้นในวันที่ 4 ลักษณะผื่นนูนแดงติดกันเป็นปื้น ๆ โดยจะขึ้นที่หน้าบริเวณชิดขอบผม แผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา เมื่อผื่นแพร่กระจายไปทั่วตัว ซึ่งกินเวลาประมาณ 2-3 วัน ไข้ก็จะเริ่มลดลง ผื่นระยะแรกมีสีแดงจะมีสีเข้มข้นขึ้นเป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง บางครั้งจะพบผิวหนังลอกเป็นขุย การตรวจในระยะ 1-2 วัน ก่อนผื่นขึ้นจะพบจุดข่าว ๆ เล็กๆ มีขอบสีแดง ๆ อยู่ในกระพุ้งแก้ม จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ก่อนที่จะมีผื่นขึ้น อาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะในเด็กเล็กคือ หูส่วนกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ อุจจาระร่วง สมองอักเสบ พบได้ประมาณ 1 ใน 1,000 ราย ซึ่งจะทำให้มีความพิการเหลืออยู่ ถ้าไม่เสียชีวิต
  การป้องกันโรคหัดทำได้โดยการแยกผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคหัดจนถึง 4 วันหลังผื่นขึ้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย และฉีดวัคซีนป้องกัน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนป้องกันโรคหัด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9 - 12 ปี ครึ่ง โดยให้ในรูปของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อควบคุมการระบาดและการแพร่กระจายของโรคติดต่อ 2. เพื่อลดอัตราการป่วยตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซึน

 

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 18,000.00 1 18,000.00
28 ก.พ. 63 โตรงการ "รณรงค์การให้วัคซีนป้อนกันโรคหัดในเด็ก 0-5ปี" 100 18,000.00 18,000.00

1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้นำ 2.ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด และวัคซีนอื่่น ๆ ตามเกณฑ์อายุ 3.ติดตามเยี่ยมบ้านในรายที่ไม่ได้มาฉีดวัคซีนตามนัด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ไม่มีการระบาดของโรคติดต่อซ้ำในพื้นที่ 2.อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคติดต่อลดลง 3.ผู้ปกครองและครูมีความตระหนักถึงการรับวัคซีนป้องกันโรคของเด็กนักเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2561 09:45 น.