กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ 2562
รหัสโครงการ 2562-L7257-7(1)-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 30 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 69,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาวสาวธีราพร ตาดำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.006,100.503place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อร้ายแรงจากสัตว์สู่คน เกิดการเชื้อเรบีส์ไวรัส (Rabies) เป็นโรคติดต่อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น คน สุนัข แมว โค ฯลฯ โรคนี้เป็นแล้วจะมีอาการทางระบบประสาท คนหรือสัตว์ที่เป็นโรคนี้ไม่มีทางรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยทุกรายจะต้องตาย จากรายงานการตรวจสุนัขหรือแมวจรจัดในประเทศไทย พบว่ามีอัตราการชุกของโรคนี้อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ถึง 3.0 การแพร่กระจายของโรคนี้สามารถติดต่อได้จากสัตว์ป่วยที่มีเชื้อนี้อยู่ไปยังสัตว์อื่นหรือมนุษย์ทางน้ำลายทั้งจากการกัด ขีดข่วน หรือการเลียบาดแผล     จากสถานการณ์การเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ พบผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย เมื่อปี พ.ศ.2555 หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2556 เกิดเหตุการณ์สุนัขจรจัดกัดนักศึกษาและบุคคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จำนวน 14 คน ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ พบว่าสุนัขตัวดังกล่าวมีพิษสุนัขบ้า และหลังจากพ.ศ.2556 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันก็มีสุนัขต้องสงสัยในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ได้นำไปตรวจพิสูจน์พบว่ามีเชื้อพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่อง จากสถิติการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ พบว่าปี 2557 มีสัตว์ที่พบเชื้อพิษสุนัขบ้าจากสมองทั้ง 20 ตัวอย่าง จากสุนัข 15 ตัวอย่าง โค 5 ตัวอย่างและของเทศบาลเมืองคอหงส์ 4 ตัวอย่างสุนัข 3 ตัวอย่าง โค 1 ตัวอย่าง ปี 2558 มีสัตว์ที่พบเชื้อพิษสุนัขจากสมองทั้งหมด 20 ตัวอย่าง จากสุนัข 16 ตัวอย่าง โค 4 ตัวอย่าง และเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ 3 ตัวอย่าง จากสุนัขทั้ง 3 ตัวอย่าง และปี 2559 มีสัตว์พบเชื้อพิษสุนัขบ้าจากสมอง 26 ตัวอย่าง สุนัข 18 ตัวอย่าง โค 8 ตัวอย่าง และเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ 10 ตัวอย่าง จากสุนัข 7 ตัวอย่าง โค 3 ตัวอย่าง จากข้อมูลปี 2559 จังหวัดสงขลา มีผู้ถูกสัตว์กัด ประมาณปีละ 3,000 ราย (เฉพาะในสถานพยาบาลภาครัฐ) แต่ละรายต้องใช้วัคซีน 4-5 เข็ม (เข็มละ 275 บาท) บางรายต้องใช้อิมมูโนโกลบูลิน(ขวดละ 7,000 – 10,000 บาท) และยังใช้ยาบาดทะยัก เสียค่าใช้จ่ายในการไปทำแผล ค่าเดินทางไปยังสถานพยาบาล การบาดเจ็บทางจิตใจ การขาดงาน นอกจากนี้ยังมีผลทางอ้อมจากการที่สุนัขวิ่งตัดหน้ารถ ทำให้เกิดอุบัติเหตุจราจรบ่อยครั้ง ดังนั้น การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา) และปี 2560 พบเชื้อ      พิษสุนัขบ้า 4 ตัวอย่าง จากสุนัข
    งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแพร่กระจายของโรคพิษสุนัขบ้าจากสุนัขและแมวมาสู่คน จึงได้ดำเนินการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในเขตพื้นที่เทศบาล ซึ่งทุกกิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กรอบกฎหมายที่กำหนดไว้ เช่น การสร้างภูมิโรคจากการให้วัคซีน การลดจำนวนสุนัขจรจัด การควบคุมอัตราการเกิดของสุนัขและแมว ซึ่งเทศบาลมีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50 (4) ที่กำหนดให้เทศบาลมีหน้าที่ต้องดำเนินการ เพื่อควบคุมและระวังโรคติดต่อ เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากสัตว์ งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อเป็นการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

1.มีผู้สามารถฉีดวัคซีนในพื้นที่ได้ครอบคลุม 30 ชุมชน

0.00
2 2. ช่วยลดอัตราการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า

2.ลดอัตราการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ลดลงจากปีที่แล้ว 80%

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 69,980.00 2 27,260.00
27 ธ.ค. 62 - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปี ๒๕๖๒ 30 15,410.00 14,260.00
27 ธ.ค. 62 - กิจกรรมฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 0 54,570.00 13,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและทั่วถึง โดยแบ่งคณะทำงานแยกเป็นฝ่ายๆไป 2.ประสานงานกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา ในการทำหมันสุนัขและแมว โดยขอความอนุเคราะห์ทีมสัตว์แพทย์ และกำหนดวันในการทำหมัน 3. ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยการติดป้ายประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนทราบเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ ก่อนดำเนินโครงการ 4. จัดทำประชาคมการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า 5. จัดอบรมให้ความรู้รณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับกลุ่มคนรักสัตว์ 6. ออกให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 7. ติดตามและประเมินผลโครงการด้วยการประเมินความพึงพอใจของผู้มารับบริการ 8. ประเมินสถานการณ์การเกิดโรคพิษสุนัขบ้าลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ปริมาณประชากรสุนัขและแมวจรจัดลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 10
  2. ประชาชนในพื้นที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากการถูกสุนัขกัด ร้อยละ 50
  3. อัตราการแพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าสู่คนในพื้นที่ลดน้อยลง ร้อยละ 100
  4. ประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์มีความรู้ความเข้าใจในโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2561 15:13 น.