กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองความเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (โรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันหลอดเลือดสมอง) ตำบลยาบี
รหัสโครงการ 61-L3070-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 29,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแมรี แวฮามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวฮาซัน โตะฮิเล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาทางสาธารณสุขได้เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี่ และวิทยาการทางการแพทย์ ทำให้วิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชากรทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น เฉพาะกลุ่มโรคหัวใจ หลอดเลือด ได้แก่โรคหัวใจขาดเลือดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง(กรมการแพทย์,กระทรวงสาธารณสุข,2550) ประเทศไทยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งถือว่าเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการแต่ตรวจพบได้ เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรม พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การปฏิบัติตนไม่เหมาะสม เช่น ไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ เป็นต้น พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้ในทุกชุมชนโดยเฉพาะโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขาภาพที่สำคัญในชุมชน จากสถานการณ์ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบความชุกเบาหวานในประชากรอายุ15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 6.9 และประชากรอายุ 35ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.6 และความชุกของโรคความดันในประชากร 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 21.4 ทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาลในการดูแลรักษาและมักเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาอันได้แก่ โรคหัวใจ ไตวาย ตาบอด หลอดเลือดหัวใจตามมา (แพทย์หญิงสุพัตราและคณะ,2553)

จังหวัดปัตตานีจากการดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปตั้งแต่ปี 2551-2553 จากผลการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 74.29,74.22 และ73.48 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 5.02, 4.61 และ 7.05 และป่วยด้วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 1.54,1.82 และ2.29ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากการคัดกรองความเสี่ยงความดันโลหิตสูงประชากร35 ปีขึ้นไปร้อยละ 70.46 ,71.13 และ73.30 พบ กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงร้อยละ 9.53,10.05และ 11.63 ตามลำดับและพบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง4.12,4.98 และ5.27 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ทั้งยังพบว่าอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้น เกือบ 2 เท่าของทุกโรคและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตใน10 อันดับแรกของจังหวัดปัตตานี(สถานการณ์โรคติดต่อไม่เรื้อรัง,จังหวัดปัตตานี,2553)

ตำบลยาบี (จากทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี) ปี2560 พบว่าพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการคัดกรองความเสี่ยงประชากร 35 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 94.70 (พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 95 คน ร้อยละ 9.08 สงสัยป่วย 7 คนร้อยละ 0.60 และมีอัตราป่วยด้วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 6 คน ร้อยละ 0.55พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง372 คน ร้อยละ34.48 กลุ่มสงสัยป่วย 115คน ร้อยละ 10.66 อัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 10 คน ร้อยละ 0.92 จึงได้เห็นถึงความสำคัญในการคัดกรองความสี่ยงด้านสุขภาพที่รวดเร็วและครอบคลุม เพื่อให้ประชาชน 35 ปีขึ้นไปได้รับการดูเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมและสามารถลดโรคลดเสี่ยงโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดัน อย่างยั่งยืนต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังชุมชนลดโรคลดเสี่ยงเบาหวานความดัน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่

มีการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ร้อยละ 50

70.00
2 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยง

มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 20

30.00
3 3.เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในการลดโรคลดเสี่ยงเบาหวานความดัน

มีการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในการลดโรคลดเสี่ยงเบาหวานความดัน ร้อยละ 60

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,025.00 0 0.00
5 - 26 ก.ค. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง รุ่นที่ 1 - 4 0 25.00 -
1 - 24 ส.ค. 61 กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยง 0 5,000.00 -

ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมทีมทำงานเจ้าหน้าที่และอสม.เพื่อค้นหาปัญหาการ คัดกรองที่ผ่านมาสรุปแนวทางการแก้ไข จัดทำโครงการ

ขั้นดำเนินการ
2.วางแผนการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ที่มีภาวะเสี่ยงประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปร่วมกับเจ้าหน้าที่และอสม โดยการสร้างกระแสร่วมกันระหว่างจนท.และอสม และติดตามคัดกรองโดยอสม.แต่ละละแวก แยกกลุ่มเสี่ยงจัดทำทะเบียนติดตามการปรับปรับเปลี่ยนและวางแผนการดูแลทั้งกลุ่มและรายบุคคล และวางระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพร่วมกัน“หน่วยเฝ้าระวังความเสี่ยงโดยชุมชน” 3.จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปโดยแบ่งกลุ่มเป็น 2รุ่น รุ่นละ100คนแบ่งเป็นช่วงเช้าบรรยายเกี่ยวกับการดูแลตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยวิทยากรจากข้างนอก ส่วนช่วงภาคบ่ายเป็นกิจกรรมเข้าฐานโดยแบ่งเป็นฐานฐานที่ 1 ด้านอาหาร ,ฐานที่ 2 ด้านออกกำลังกาย,ฐานที่ 3 ด้านอารมณ์ 4. มีการติดตามกลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยจนทและอสม.แต่ละละแวกของหมู่ 5.พัฒนาคลีนิกDPAC ในรพ.สต.โดยจัดห้องให้คำปรึกษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จัดทำทะเบียน และแบบบันทึกการปรับเปลี่ยนเป็นรายบุคคล มีจนท.รับผิดชอบที่ชัดเจน ให้บริการทุกวันพฤหัส ของเดือน และจัดทำบัตรประเมินความเสี่ยง เขียว เหลือง แดงเพื่อคืนข้อมูลด้านสุขภาพเชิงประจักษ์แก่ผู้รับบริการ พัฒนาคลีนิกDPAC ในชุมชนร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน โดยเน้น3อ.2ส. กลุ่มเสี่ยง ทั้งในเรื่องการบริโภคและการออกกำลังกายที่เหมาะสม
6.ส่งต่อในรายที่มีปัญหาและติดตามต่อเนื่องจัดทะเบียนแยกเพื่อควบคุมกำกับผู้ป่วยที่รับบริการที่รพ.สต.ยาบี รพ.หนองจิกและอื่นๆวางแผนการติดตามเยี่ยมและการดูแลที่ครอบคลุมผู้ป่วยทั้งตำบลยาบี 7.รายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมประจำเดือน สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนการพัฒนาต่อ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ร้อยละ 50
  2. มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 20
  3. มีการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในการลดโรคลดเสี่ยงเบาหวานความดัน ร้อยละ 60
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2560 13:42 น.