กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัย
รหัสโครงการ 62-L3031-12-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มัสยิด ฆอวาอีดุลอิสลามียะห์
วันที่อนุมัติ 3 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดอรอเซะ กูเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวอับดุลรอแม มะยีแต
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.67,101.303place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขยะมูลฝอยขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม ปริมาณขยะมูลฝอยดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะที่เกิดขึ้นทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่อากาศเสียน้ำเสียแหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึงเกิดเหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน ขยะของตำบลเมาะมาวี มีการผลิตขยะเฉลี่ย 0.3 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน มีการจัดเก็บประมาณ 69 ตันต่อเดือน มีการเก็บค่าใช้จ่ายการกำจัดขยะครัวเรือนละ 10 บาทต่อเดือน ซึ่งน้อยกว่าต้นทุนที่จัดเก็บจริง ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 80,000 บาทต่อเดือน จากการสังเกตพบว่าขยะส่วนใหญ่ประกอบด้วยถุงพลาสติก เศษผ้าออมสำเร็จรูปที่ปนเปื้อนประมาณร้อยละ 40 เศษพืชผัก อาหารจากครัวเรือน ขยะอินทรีย์อื่นๆ ร้อยละ 30 ขยะรีไซเคิลได้ร้อยละ 20 และขยะอื่นๆ ซึ่ง
ในการนี้มัสยิดฆอวาอีดุลอิสลามียะห์(ยือลาปัน) จึงจัดทำโครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านยือลาปัน มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ วิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี รวมทั้งขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง จากการที่ประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติคัดแยกขยะจากต้นทางและร่วมกิจกรรมในโครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ประชาชนหมู่ที่ 4 บ้านยือลาปัน ในจัดการขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ประชาชนในหมู่4 บ้านยือลาปัน มีการจัดการขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน เกือบ90 เปอร์เซน

0.00
2 เพื่อช่วยลดปริมาณขยะและเสริมสร้างความรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม

ปริมาณขยะในชุมชนลดลง

0.00
3 เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงาน

 

0.00
4 เพื่อลดการเกิดโรคจากขยะในชุมชนได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม) 1.จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติ 2.แต่งตั้งคณะทำงาน/ประชุมคณะทำงาน 3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการฯ 4.ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ การรณรงค์ฯ การรับสมัครสมาชิกและระเบียบฯ 5.จัดตั้งธนาคารขยะรับสมัครสมาชิก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนหมู่ที่ 4 บ้านยือลาปัน มีความรู้ในจัดการขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน 2.ลดปริมาณขยะและเสริมสร้างความรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม 3. มีรูปแบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงาน
4. ลดการเกิดโรคจากขยะในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2561 15:07 น.