กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
รหัสโครงการ 60-L5225-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพศาล หนูกลัดนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโลกและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยปัจจุบันยังคงเกิดการระบาดอย่างกว้าง และอัตราการป่วยและจำนวยผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมาตรการการควบคุมโรคยังคงควบคุมยุงพาหะนำโรคโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลพังยางจึงได้ดำเนินการป้องกันการเกิดและแพร่ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่องทุกปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว ควบคู่กับการให้ความรู้ ให้รู้จักวิธีการควบคุมเฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนเกิดความตื่นตัวและรู้จักวิธีการควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้

2 เพื่อส่งเสริมการส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

3 เพื่อลดอัตราการป่วย และการสูญเสียชีวิตของประชาชนเนื่องจากโรคไข้เลือดออก

อัตราการป่วยและการสูญเสียของประชาชนลดลงอย่างเห็นได้ชัด

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ติดต่อประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชนเพื่อให้มีความพร้อมก่อนดำเนินการ
  2. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการฯผ่านหอกระจายข่ายประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางและสื่ออื่นๆให้ประชาชนรับทราบก่อนดำเนินการอย่างน้อย 1 วัน
  3. ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้
    • เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์เดินทางภายในหมู่บ้าน
    • แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
    • แจกทรายอะเบท ป้องกันการเกิดโรค
  4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความตื่นตัว มีความรู้ความเข้าใจ รู้จักวิธีควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออกและร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย
  2. ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาทในการช่วยกันเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกภายในชุมชนมากขึ้น
  3. การแพร่ระบาดของโรค อัตราป่วย และการสูญเสียชีวิตของประชาชนเนื่องจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2560 09:23 น.