กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรมสุขภาพ พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชนในพื้นที่ อบต.นาโยงเหนือ
รหัสโครงการ 62-50117-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเลิศรัตน์ เอกสถาพรสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้าน ต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดคว่ามสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้กิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละเลิกกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ ละเลิกการสูบบุหรี่เครื่องดื่มทีมีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มันเค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกินการดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้น จำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้องและการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
  จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี 2561 เป้าหมายประชาการ 35 ปีิ ขึ้นไป จำนวน 2,571 คน คัดกรองได้ 2,492 คน คิดเป็นร้อยละ 96.92 พบกลุ่มต่อโรคเบาหวานจำนวน 257 คน คิดเป้นร้อยละ 9.99 กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 12 คนคิดเป็นร้อยละ 0.46ผู้ป่วยรายใหม่ 6 คน คิดเป็นร้อยละ 0.23 และพบกลุ่มเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน 657 คน คิดเป็นร้อยละ 25.54 กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 1.36 ผุ้ป่วยรายใหม่ 11 คนคิดเป็นร้อยละ 0.43 งานควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลนาโยงมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรมสุขภาพฯ พิชิตโรคเบาหวาน/ความโลหิิตสูง ตามวิถีชุมชน ปี 2562 ขึ้นโดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ผ่านการตรวจคัดกรองและพบว่ามีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมโดยความสมัครใจ 40 คน

 

40.00
2 กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน เข้าร่วมโครงการโดยความสมัครใจ 10 คน

 

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,100.00 0 0.00
1 ก.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 โครงการปรับพฤติกรรมสุขภาพ พิชิตโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชนในพื้นที่ อบต.นาโยงเหนือ ปี 2562 0 26,100.00 -

1.ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและเกี่ยวข้องเพื่อร่วมหากลุ่มเป้าหมาย 2.ประชุมกลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการเพื่อทำข้อตกลงร่วมกิจกรรมและค่้นหาปัจจัยเสี่ยงรายบุคคล ร่วมวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3.ตรวจคัดกรองและยืนยันผล และลงบันทึกผลก่อนร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4.อบรมกลุ่มเสี่ยงเข้าฐานให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 2 วัน 5.จัดทำเมนูสุขภาพตามวิถีชุมชนเพื่อนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร 6.บันทึกข้อตกลงวิธีการออกกำลังกายตามบริบทของตนเอง โดยกำหนดให้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องนาน 30นาที ทุกวัน 7.จัดกลุ่มไลน์และมี่รายงานออกกำลังกายและมนูอาหารโดยถ่ายภาพส่งในไลน์กลุ่ม 8.นัดพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อสร้างแรงกระตุ้น และรับฟังปัญหา 9.ประเมินผลหลังทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพครบ 10รายงานผลโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีผลระดับน้ำตาล/ความดันโลหิตลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 50 และสามารถเป็นต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2561 14:22 น.