กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ 62-50117-03-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นาโยงเหนือ
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ธันวาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศุภิสรา จันทร์ขุน
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)
55.00
2 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)
20.00
3 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)
10.00
4 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาของเด็กปฐมวัยประกอบด้วย ปัญหาทั้งด้านสุขภาพและความปลอดภัย มีสาเหตุมาจาก ตัวเด็กเองและสภาพแวดล้อม ตลอดจนปัจจัยในการเลี้ยงดูและพัฒนาของเด็กแต่ละคน ปัญหาอาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ทั้งที่บ้านและโรงเรียน ผู้ปกครองและครูจึงต้องรู้เท่าทันภูมิหลังด้านสุขภาพของเด็ก และมีความรอบคอบในการเตรียมรับมือกรณีที่เกิดปัญหาด้านสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กแต่ละคน โดยเฉพาะการระมัดระวังในการแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง หรือการเตรียมการซักซ้อมก่อนการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน และเกิดความปลอดภัยแก่เด็กมากที่สุดอาจกล่าวได้ว่าสุขภาพและความปลอดภัย เมื่อนำมาพิจารณารวมกันแล้ว ย่อมหมายถึง ทั้งชีวิตของเด็ก ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สาเหตุอันเกิดจากปัจจัยภายใน และจากปัจจัยภายนอก ซึ่งมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 1.สาเหตุจากปัญจัยภายใน ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดปกติในตัวเด็กเอง โดยปัญหาของเด็กมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
-เด็กมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่พัฒนาโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้อาจเกิดจากความผิดปกติททางร่างกายของด็กเอง -โรคภูมิหรืออาการแพ้หรืออาการแพ้ประเภทต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้ยา แพ้สัตว์ปีก ซึ่งอาจทำให้เด็กต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนในบางกรณี 2.สาเหตุจากปัจจัยภายนอกสำหรับปัจจัยภายนอก สิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ซึ่งปัญหาที่เกิดกับเด็กส่วนใหญ่ มักเกิดเหตุดังต่อไปนี้
-การติดเชื้อ การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งสามารถแพร่จากคนสู่คนได้อย่างง่ายดายผ่านการสัมผัส -การเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง ตั้งแต่หลังคลอดซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องของอาหารการกินไปถึงการดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของลูก -เด็กขาดประสบการณ์หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ -อุบัติเหตุประเภทต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการหกล้มเพียงเล็กน้อย หรืออาจรุนแรงถึงอุบัติเหตุที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือชีวิต -การได้รับสารพิษ -การรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอ
ดั้งนั้น หากเกิดปัญหาขึ้นกับสุขภาพและความปลอดภัย ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือ การเรียนรู้สิ่ง ต่าง ๆ รอบตัว นอกจากนี้ยังขัดขวางต่อพัฒนาการเด็กในทุกๆ ด้านอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเด็กปฐมวัย ปัญหาที่เกิดกับสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ยังรวมถึงความผิดปกติที่อาจติดตัวเด็กไปได้ตลอดชีวิตอาทิ เช่น เด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหารมักมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง หรืออาจมีร่างกายแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต และมพัฒนการที่ไม่สมวัย การช่วยเหลือ ป้องกัน และการแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กย่อมมีความสำคัญ ต่อชีวิตและอนาคตของเด็ก และที่สำคัญคือ ครอบครัวของเด็กจะต้องเข้ามามีบทบาทและมีส่วนสำคัญต่อชีวิตและอนาคตของเด็ก และสิ่งที่สำคัญคือ ครอบครัวของเด็กจะต้องเข้ามามีบทบาท และมีส่วนสำคัญในการดูแลให้เด็กทุกคนได้กินดีอยู่ดี มีที่อยู่ ที่หลับนอนที่ปลอดภัยแต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายครอบครัวที่รายได้ไม่เพียงพอจุนเจือสมาชิกใหม่ในครอบครัว ผู้ปกครองมีการศึกษาน้อย หรือมีถิ่นที่อยู่อาศัยในสภาวะแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ครอบครัวเหล่านี้จึงมีข้อจำกัดในการเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างเหมาะสม ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเด็กโตขึ้น นอกจากจะมีปัญหาสุขภาพแล้วพวกเขาเหล่านั้น ยังถ่ายทอดการเลี้ยงดูในแบบที่ตนเองได้รับไปสู่ลูกหลาน เป็นวงจรที่สร้างปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยไม่สิ้นสุด และไม่อาจได้รับการแก้ไขได้ จนกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวเหล่านั้นจะดีขึ้น   ด้วยเหตุนี้ศูนย์เด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ จึงต้องการมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพของเด็กรวมทั้งการดำเนินการเตรียมความพร้อมตามมาตราการการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก อย่างเข้มข้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำปี 2562 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กปฐมวัย ครูผุ้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองประกอบอาหาร และผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพ อนามัย และรู้จักดูแลสุขภาพร่างกายด้วยตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้เด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)

10.00
2 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)

55.00
3 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ

จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)

20.00
4 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

4.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมครูและบุคลากรของศูนย์เด็กเล็ก 2.เสนอโครงการ เพื่ออนุมัติ 3.ที่ประชุมร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรม -จัดอบรมให้ความรู้ ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการอาหาร เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง -จัดกิจกรรมตรวจและคัดกรองสุขภาพแก่เด็กปฐมวัย -จัดกิจกรรม "เด็กปฐมวัยเล่นกีฬาพาเพลิน" 4.คณะทำงานร่วมกันจัดทำโครงการ ตามแนวทางที่กำหนดไว้และดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 5.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพร้อมทั้งรายงานหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณและผู้ที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูปลสุขภาพและสุขอนามัย ของเด็กปฐมวัยและสามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปใช้เพื่อดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม 2.ลดอัตราการป่วยจากโสรค่ติดต่อของเด็กปฐมวัย 3.เด็กปฐมวัยรู้จักออกกำลังกาย เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างถูกวิธี เหมาะสมตามวัย 4.เด็กปฐมวัยได้รับการตรวจสุขภาพทุกคน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2561 15:21 น.