กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันไข้เลือดออกถวายองค์ราชันย์
รหัสโครงการ 010122560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองพัทลุง
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 127,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิภาธร พงศาปาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของ โรคแปรผันตรงต่ออัตราการตายและการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน /สังคม ตามลำดับ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง5-9 ปีแต่ในปัจจุบันสามารถ พบได้ทุกกลุ่มอายุ ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรค ไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี ซึ่งยังพบว่าเป็นสถานการณ์ที่รุนแรง ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่งได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซ้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วยปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองพัทลุงได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันไข้เลือดออกถวายองค์ราชันย์ขึ้นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๒.๑ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง 2.๒ เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหนะของโรคไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ๒.๓ เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงต่ำกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๔.๑ เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ ๔.๒ ประชุมคณะทำงานประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองพัทลุงงานป้องกันควบคุมโรคและระบาดวิทยาโรงพยาบาลพัทลุงศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำเพื่อกำหนดกิจกรรมและมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงาน ๔.๓ จัดประชุมให้ความรู้ คำแนะนำ และแนวทางการดำเนินงาน ๔.๔ ศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง ๓ ศูนย์ จัดประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนโซน ๆ ละ ๒ ชุมชน รวม ๖ ชุมชน กิจกรรมที่ 1 - ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ แก่ อสม.แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ - จัดทำข้อมูลเพื่อเตรียมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออก - ประชาสัมพันธ์แผนงานโครงการ กิจกรรมที่ 2 - เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกก่อนลงสำรวจ ค่า HI, CI - สำรวจค่า HI, CI กับหลังคาเรือนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยประธานชุมชน, อสม. และ เจ้าหน้าที่ - เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกหลังลงสำรวจ ค่า HI, CI ๔.๕ จัดประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกจากตัวแทนโซน ๖ ชุมชน เพื่อคัดเลือกเป็นชุมชนปลอดไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงโดยมีคณะกรรมการลงประเมินตามเกณฑ์การประกวดชุมชนละ ๑ วันรวม๖ วัน ๔.๖ จัดประชุมเพื่อสรุปผลโครงการปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ๕.เป้าหมายจำนวน 110 คนประกอบด้วย ๕.๑ กรรมการชุมชนจำนวน 45 ชุมชน ๆ ละ 1 คน รวม 45 คน ๕.๒ อสม. จำนวน45 ชุมชน ๆ ละ 1 คน รวม 45 คน ๕.๓ เจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองพัทลุงโรงพยาบาลพัทลุงศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง 3 ศูนย์ จำนวน20 คน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๙.๑ อัตราการป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลง ๙.๒ มีกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมการรณรงค์ ควบคุมและป้องกันโรคทุก รูปแบบอย่างต่อเนื่อง
๙.๓ ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2560 11:10 น.