กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กตำบลกอตอตือร๊ะ
รหัสโครงการ 60-L4152-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.5,101.389place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ส.ค. 2560 21 ส.ค. 2560 25,800.00
รวมงบประมาณ 25,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ระยะตั้งครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญสำหรับการให้กำเนิดทารก ให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญาแม้ว่าการตั้งครรภ์ของสตรีจะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแต่ก็เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความไม่สุขสบายและมีความวิตกกังวล ดังนั้นจึงจำเป็นที่หญิงตั้งครรภ์ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกในครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ซึ่งต้องมีการเตรียมกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยการฝึกการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวดขณะคลอด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด รวมทั้งเตรียมรับบทบาทการเป็นมารดาที่ดีมีคุณภาพ สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาภายหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง เมื่อมารดาได้รับความรู้และได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยจะเริ่มตั้งแต่มารดาวางแผนการตั้งครรภ์อย่างค่อยเป็นค่อยไปตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์และหลังคลอด เพื่อก้าวเข้าสู่บทบาทของการเป็น “คุณแม่คุณภาพ” จากข้อมูลแสดงถึงสภาพปัญหาของงานอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ พบว่าทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า๒,๕๐๐กรัมจำนวน๑๒รายคิดเป็นร้อยละ๑๓.๗๙ ซึ่งเกณฑ์ต้องไม่เกินร้อยละ ๗ สาเหตุเกิดจากการที่ขณะตั้งครรภ์มารดามีน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวคือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและมีโภชนาการที่ดีในระยะตั้งครรภ์ และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง งานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพและตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน๑๒ สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพและตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน๑๒ สัปดาห์

2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพและการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพและการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะก่อนดำเนินงาน ๑. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ ๒. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
๓. ประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการฯ
ระยะดำเนินงาน
๑. ปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการในคลินิกฝากครรภ์และคลินิกเด็กดีตามมาตรฐาน ๒. จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ๓. จัดอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในเรื่องการฝากครรภ์คุณภาพและการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ๔. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ๕. ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ระยะหลังดำเนินงาน
๑. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ๒. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพและมีการฝากครรภ์ก่อน๑๒ สัปดาห์ไม่น้อยกว่าร้อยละ๘๐ ๒. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพและการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2560 12:56 น.