กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลอดขยะ ปลอดโรค
รหัสโครงการ 60 - L5269 07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลรำแดง
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 42,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลรำแดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.29,100.486place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 14 ก.พ. 2560 14 ก.พ. 2560 28,425.00
2 15 ก.พ. 2560 29 ก.ย. 2560 14,100.00
รวมงบประมาณ 42,525.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คำว่า ขยะ หากจะกล่าวถึงคำๆ นี้ ทุกคนคงคิดถึงของเสีย สิ่งปฏิกูล สิ่งที่เป็นปัญหาที่ควรนำไปกำจัดทิ้งแต่ถึงจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรกำจัดทิ้งก็ใช่ว่าทุกคนที่สร้างขยะจะมีส่วนร่วมในการจัดการกับขยะที่แต่ละคนได้ก่อขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ต่างมองว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่เป็นผู้ก่อขยะเหล่านี้ขึ้นมาดังนั้นหากต้องการให้ปัญหาการจัดการขยะสามารถจัดการได้ง่ายขึ้นลดปริมาณขยะที่ตนเองเป็นคนสร้างก็ควรอาศัยความร่วมมือของพวกเราทุกคนในชุมชน ธนาคารขยะรีไซเคิล คือ รูปแบบหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อลดปริมาณขยะ ส่งเสริมการคัดแยก โดยเริ่มต้นที่ชุมชนเป็นหลัก โดยเริ่มจากจัดให้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแนวคิดวิธีการดำเนินงานการจัดฝึกอบรมให้ความรู้กับชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการคัดแยกขยะรู้ว่าขยะประเภทใดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ประเภทใดสามารถนำไปแปรรูปประเภทใดที่นำมาคัดแยกประเภทใดแล้วเกิดมูลค่าเพิ่มทั้งนี้เพื่อเป้าหมายการลดปริมาณขยะในชุมชนและส่งเสริม การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลักและก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่การสร้างจิตสำนึกต่อการรักษ์บ้านเกิดในชุมชนของตนยังเป็นการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาทำให้ช่วยลดสภาวะเรือนกระจก ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลให้โลกเพิ่มขึ้นอย่างเช่นสถานการณ์ปัจจุบันที่เรียกว่าภาวะโลกร้อน ดังนั้น ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลรำแดงจึงได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องแผนงานโครงการจัดตั้งธนาคารขยะหมู่บ้านโดยการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยการปลอดขยะ ปลอดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ลดลง 5 ก.ก.ต่อวัน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการขยะ ตามหลัก 3Rs การให้ความรู้ในเรื่องประเภทขยะ การคัดแยกขยะ โดยเชิญวิทยากรจำสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 16 สงขลา โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนทั้ง 2 โรงเรียนในพื้นที่ตำบลรำแดง, อสม.,ผู้นำชุมชน กิจกรรมที่ 2 การรีไซเคิลขยะ การฝึกแยกประเภทขยะรีไซเคิลเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนขยะเป็นเงินเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยการจัดตั้งจุดรับซื้อขยะรีไซเคิลในโรงเรียนทั้ง 2 โรงเรียน ซึ่งจะดำเนินการรับซื้อทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ โดยเชิญวิทยากรจากร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนในตำบลรำแดงมีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและ ผลกระทบที่เกิดจากขยะ ๒. ประชาชนในรำแดงมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะวิธีการคัดแยกการนำกลับมาใช้ใหม่ ๓. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธี ๔. ทำให้บ้านเรือนสะอาดปลอดโรค ปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2560 13:33 น.