กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 4
รหัสโครงการ 60-7250-3-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 4
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 55,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมโชคดีลิ่น ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 4
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยาย (EXTEND FAMILY) ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว (NUCLEAR FAMILY) ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ดำเนินชีวิตเพียงลำพัง
จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจ แยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น มีสารชีวเคมีและฮอร์โมนลดลง การสูญเสียสิ่งสำคัญของชีวิต เช่น การสูญเสียคู่ชีวิตเพราะตายจาก การสูญเสียบุตรเพราะแยกไปมีครอบครัว การสูญเสียตำแห่งหน้าที่การงาน การสูญเสียสถานภาพหรือบทบาททางสังคม ตลอดจนการสูญเสียการเป็นที่พึ่งของครอบครัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุและหากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้ว จะยิ่งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุว้าเหว่ มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง แยกตัวออกจากสังคม เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ดังนั้น การตระหนักและให้ความสำคัญการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจรวมถึงการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ทางสังคม การเสริมสร้างความมีคุณค่าให้แก่ผู้สูงอายุ เสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกครอบครัวทุกช่วงวัย ให้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาของครอบครัว ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้สมาชิกในชุมชนทุกกลุ่ม/ทุกช่วงวัยแนวทางหนึ่ง
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 4 จึงได้จัดทำโครงการสานสัมพันธ์คนสองวัยใส่ใจครอบครัวเพื่อเสริมสร้างความมีคุณค่าให้แก่ผู้สูงอายุ และเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกครอบครัวทุกช่วงวัย มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาของครอบครัว ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ไม่อยู่เฉพาะในโลกของตัวเองหรือเฉพาะที่บ้านของตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมทั้งด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ สตรี เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและครอบครัว ในพื้นที่ชุมชนเขต 4 ให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและปกติสุข

1.เชิงปริมาณ ผู้เข้าร่วมโครงการสานสัมพันธ์คนสองวัยใส่ใจครอบครัว จำนวน60ครอบครัว

2 2. เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว

2.เชิงคุณภาพ
- สมาชิกในครอบครัวกับผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ที่ดี โดยมีการพูดจาต่อกันดีขึ้น ยอมรับฟังและใช้แหตุผลมากขึ้น - ผู้สูงอายุได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากลูกหลานอย่างสม่ำเสมอ - ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง - ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเพิ่มมากขึ้น เครื่องมือ : แบบประเมินความรู้ความเข้าใจก่อน-หลังการอบรม และแบบติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ

3 3. เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกครอบครัวทุกช่วงวัย ให้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาของครอบครัว

3.เชิงเวลา โครงการดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดร้อยละ90

4 4. ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ไม่อยู่เฉพาะในโลกของตนเองหรือเฉพาะที่บ้านของตนเอง

4.เชิงค่าใช้จ่ายโครงการดำเนินการโดยใช้งบประมาณตามที่ประมาณการไว้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา
  2. ประสานภาคีเครือข่าย หน่วยงาน องค์กรต่างๆ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและขอความร่วมมือในด้านต่างๆ
  3. ประสานผู้นำชุมชน/อสม. ในชุมชนพื้นที่เขต 4 เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  4. ประสานงานเรื่องสถานที่และจัดเตรียม/จัดหาวัสดุ-อุปกรณ์สำหรับในการดำเนินงาน
  5. ดำเนินการตามโครงการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1) การดูแลผู้สูงอายุ (สุขภาพกายและสุขภาพใจ) 2) การสื่อสารที่ดีระหว่างผู้สูงอายุกับวัยรุ่น และสมาชิกในครอบครัว 3) ทุกข์ - สุขของผู้สูงอายุในครอบครัว เพื่อให้ลูก/หลานรับทราบถึงความต้องการของผู้สูงอายุ 4) การเสริมสร้างการมีคุณค่าให้แก่ผู้สูงอายุ 5)สรุปและรายงานผลต่อแหล่งทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุ ผู้พิการ สตรี เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและครอบครัวในชุมชนเขต 4ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ร่วมเรียนรู้ และมีภูมิคุ้มกันทางสังคมทั้งด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีคุณค่าและปกติสุข
  2. สมาชิกในครอบครัวกับผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ที่ดี โดยมีการพูดจาต่อกันดีขึ้น ยอมรับฟังและใช้เหตุผลมากขึ้น
  3. ผู้สูงอายุได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากลูกหลานอย่างสม่ำเสมอ 4.ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 5.ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2560 09:56 น.