กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายอาสาสมัครอาหารปลอดภัย เทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L7250-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสุขาภิบาลอาหาร
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 79,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอุดมลักษณ์บุญนวล เจ้าพนักงานสุขาภิบาลชำนาญงาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากมนุษย์ทุกคนนั้นต้องการน้ำและอาหารเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดได้ ฉะนั้นอาหารที่ปลอดภัยปราศจากเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นพิษเมื่อบริโภคเข้าสู่ร่างกายแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง ส่วนอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นพิษ เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วก็จะก่อให้เกิดโทษมากกว่าเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารเกิดจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้อ E coliโรคมะเร็งเกิดจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษจำพวกยาฆ่าแมลงสะสมเป็นเวลานาน หรือเมื่อบริโภคเข้าไปแล้วอาจเสียชีวิตได้เกิดจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษในปริมาณมากในครั้งเดียวเช่น สารเคมีจำพวกสารบอแร็กซ์(น้ำประสานทอง)ที่มักพบปนเปื้อนใน หมูบด ลูกชิ้นไส้กรอก สารเคมีจำพวกสารฟอร์มาลีน (น้ำยาดองศพ)ที่มักพบปนเปื้อนในอาหารทะเลแช่แข็ง ในปลาหมึก กุ้ง บางครั้งอาจพบในเครื่องในสัตว์สารกันราที่มักพบปนเปื้อนใน ผักกาดดอง หน่อไม้ดอง ผลไม้ดอง สารฟอกขาวที่มักพบปนเปื้อนใน ถั่วงอก ขิงหั่นฝอย หน่อไม้ น้ำมะพร้าว ยาฆ่าแมลงที่มักพบปนเปื้อนใน พืชผัก ผลไม้ ปลาเค็ม เป็นต้น การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารสะอาดปราศจากสารปนเปื้อนและมีคุณค่าตามหลักโภชนาการจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจต่อผู้ประกอบการร้านอาหาร รถเร่ และแผงลอยในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาที่มีเป็นจำนวนมาก เครือข่ายอาสาสมัครอาหารปลอดภัยจึงมีหน้าที่ตรวจสอบและแนะนำผู้ประกอบการให้เข้าใจถึงหลักสุขาภิบาลอาหาร การประกอบอาหาร สะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งในปีงบประมาณที่ผ่านมากองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้จัดอบรมให้แก่เครือข่ายอาสาสมัครอาหารปลอดภัยไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน ๕๐ คน ซึ่งได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนและแนะนำผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติจริงในการทดสอบหาเชื้อโรคและสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารเพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารอีกด้วย
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา มีความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและเพื่อเพิ่มเครือข่ายอาสาสมัครอาหารปลอดภัยในกลุ่มเป้าหมายอื่น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลา ได้มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของการบริโภคอาหารจากร้านจำหน่ายอาหารต่างๆ และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคในทางสาธารณสุขอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้อาสาสมัครอาหารปลอดภัยและผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น
  1. ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครอาหารปลอดภัยและผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี ถึง ดีมาก หลังเข้ารับการอบรม
2 ๒. เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารพิษในอาหาร
  1. ร้อยละ ๑๐0 ของสถานประกอบการที่เข้ารับการอบรม จำนวน ๕๐ ร้าน ในพื้นที่เทศบาลนครสงขลาที่ได้รับการตรวจและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
3 ๓. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดจิตสำนึกในการประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

 

4 ๔. เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่ สะอาด ปลอดภัย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
    1. จัดทำแผนปฏิบัติงาน ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
    2. จัดทำแผนประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ
    3. จัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร และเครือข่ายอาสาสมัครอาหารปลอดภัย ประกอบด้วยผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารและ อสม.ในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา
    4. ปฏิบัติงานภาคสนามตามแผนการออกตรวจ
    5. สรุปผลและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร รถเร่ และแผงลอย มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องหลักสุขาภิบาลอาหาร
    1. ผู้ประกอบการมีการปรับปรุงพัฒนาอย่างมีมาตรฐาน และถูกสุขลักษณะตามมาตรฐาน
    2. ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารทุกกลุ่มเป้าหมายมีจิตสำนึกและมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคในการปรุง จำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย
    3. ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย มีความรู้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ช่วยให้มีทางเลือกในการซื้ออาหาร จากสถานประกอบการที่ปลอดภัย
    4. เครือข่ายอาสาสมัครอาหารปลอดภัยช่วยปฏิบัติราชการด้านงานสุขาภิบาล และช่วยตรวจผู้ประกอบการกันเองอย่างเข้มแข็ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2560 11:15 น.