กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดฟันผุ (ศูนย์ฟันผุ)
รหัสโครงการ 62-l1483-4-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
วันที่อนุมัติ 12 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแต่ละแห่งในเขตรับผิบชอบ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.35,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุเป็นปัญหาที่เด่นชัด ซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อพัฒนาการ สุขภาพ การสบฟัน ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ ๗ ปี ๒๕๕๕ พบว่ากลุ่มเด็กอายุ ๓ ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ ๕๑.๗ มีฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ ๕๐.๖ ในขณะที่ภาคใต้ พบว่าเด็ก ๓ ขวบมีอัตราการเกิดสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ เป็นร้อยละ ๖๑ และเป็นฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาสูงสุดร้อยละ ๕๙.๘ สำหรับอำเภอปะเหลียนในปี ๒๕60 พบว่าเด็ก๓ ปีมีอัตราการเกิดฟันผุร้อยละ 51.30 สำหรับตำบลบางด้วน แม้ว่าภาวะปราศจากฟันผุจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเด็กส่วนหนึ่งที่เกิดภาวะฟันผุไปแล้วและรอการบูรณะก่อนที่จะลุกลาม และเด็กบางกลุ่มนั้นรอการส่งเสริมป้องกันที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุในอนาคต โดยร่วมส่งเสริมป้องกันฟันผุทั้งเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก ในเรื่องต่างๆที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ เช่น การแปรงฟันอย่างถูกต้อง การเลือกรับประทานอาหาร  การจัดการพฤติกรรมเด็ก รวมถึงรอยโรคในช่องปากเป็นต้น ซึ่งการที่สุขภาพปากสุขภาพช่องปากมีความสำพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี จึงมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพในช่องปากนั้นไม่ได้เกิดจากสาเหตุภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นฟันได้รับการดูแลรักษาอย่างดีตั้งแต่ในวัยเด็ก เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพปากและฟัน สามารถใช้งานได้ครบทั้งปาก ไม่มีโรคในช่องปาก และไม่มีความเจ็บปวดในช่องปาก ดังนั้นหากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพและสุขภาพช่องปากแก่เด็กตั้งแต่ช่วงก่อนปฐมวัยในรูปแบบที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพปากและฟัน อาจจำทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากนั้นลดน้อยลง และคนในสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนก็จะมีสุขภาพฟันที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มเด็กปฐมวัย ๒.เพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลสุขช่องปากในเด็กโดยผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตรับผิดชอบ

200.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
22 - 25 ก.ค. 62 โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดฟันผุ (ศูนย์ฟันผุ) 200 5,000.00 5,000.00
รวม 200 5,000.00 1 5,000.00

เป้าหมายนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตรับผิดชอบ จำนวน 200 คน 1. จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติโครงการ 2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากรและสถานที่ 4. ดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ตามโครงการ -เรื่องการการดูแลสุขภาพช่องปาก และการแปรงฟันอย่างถูกวิธี -ความรู้เรื่องการเลือกรับประทานอาหาร -ความรู้เกี่ยวกับรอยโรคฟันผุในช่องปากและวิธีการรักษาป้องกัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนใน ศพด.มีอัตราปราศจากฟันผุเพิ่มขึ้น
2.ครูผู้ดูแลเด็กมีศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2561 13:36 น.