กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบ่อยางยิ้มสวยสดใส มั่นใจฟันดี เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L7250-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานทันตะ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 403,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเปมิกาสุวรรณจินดาเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 840 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหารและมีความสำคัญสำหรับการติดต่อสื่อสารของผู้คนในสังคม ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของคนเปลี่ยนไป ในขณะที่ระบบบริการสุขภาพ และระบบพัฒนาคนยังไม่สามารถปรับตัวรองรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดโรคฟันผุในทุกกลุ่มวัยเพิ่มมากขึ้น จากผลการดำเนินโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพของงานทันตสาธารณสุขกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนเป็นอย่างดีจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลาตั้งแต่ปี 2557 – 2559 นั้น พบว่าเด็กแรกเกิด0 – 4 ปี ที่เข้ามารับวัคซีนในคลินิกเด็กดีปี 2557 – 2559 พบฟันน้ำนมผุเฉลี่ยร้อยละ 35.84 32.49 และ36.17 ตามลำดับ พอเด็กโตขึ้นมาในช่วงกลุ่มอายุ 3 – 6 ปี เด็กก่อนวัยเรียนก็จะมีฟันผุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 38.76 39.41 และ40.17 ตามลำดับ และเมื่อเด็กที่มีฟันน้ำนมผุย่อมส่งผลไปถึงฟันแท้ของเด็กย่อมมีโอกาสผุได้มากกว่าเด็กที่ไม่มีฟันน้ำนมผุ จากผลการสำรวจเด็กกลุ่มวัยเรียนอายุ 6 – 12 ปี พบฟันน้ำนมและฟันแท้ผุเฉลี่ยร้อยละ 53.84 52.19 และ54.79 ตามลำดับ และกลุ่มที่สำคัญอีกกลุ่มคือหญิงมีครรภ์เพราะหญิงมีครรภ์สามารถถ่ายทอดเชื้อโรคจากช่องปากไปสู่ลูกได้จึงต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ จากผลการสำรวจพบหญิงมีครรภ์ในเขตเทศบาลนครสงขลามีฟันผุเฉลี่ยร้อยละ 46.53 45.98 และ44.17 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปพบฟันผุเฉลี่ย 69.05 69.74 และ67.17 ตามลำดับ งานทันตสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา ได้ตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพช่องปากของชาวบ่อ จึงได้จัดทำโครงการชาวบ่อยางยิ้มสวยสดใส มั่นใจฟันดี เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2560 ขึ้นมาโดยให้ภาคีเครือข่ายส่วนต่างๆได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆเพื่อพัฒนาศักยภาพของ ประชาชน ชุมชน ในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา และระบบบริการให้ประชาชนมีพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ดี และสามารถเข้าถึงบริการทันตกรรมเพิ่มมากขึ้น ร่วมกันช่วยแก้ปัญหาสุขภาพชุมชนให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุและการสูญเสียฟันไปก่อนวัยอันสมควรของประชาชนทุกกลุ่มอายุเขต เทศบาลนครสงขลา

3.1 อัตราการเกิดโรคฟันผุของประชากรทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาลดลงร้อยละ 2

2 2.2 เพื่อสร้างความร่วมมือและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนของภาคีเครือข่ายให้เกิดการ ขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลา

3.2 หน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนของเทศบาลนครสงขลามีส่วนร่วมในการช่วยกันขับเคลื่อนสังคม ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาร้อยละ 80

3 2.3 เพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชน และชุมชนให้สามารถจัดการให้สามารถจัดการปัญหาสุขภาพช่องปาก ด้วยตนเอง

3.3 ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง และการแปรงฟันที่ถูกวิธีร้อยละ 50 3.3.1 ผู้ดูแลเด็กที่พาเด็กมารับวัคซีนในคลินิกเด็กดี ณ.ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครสงขลา ทั้ง 2 แห่งได้รับความรู้เรื่องการแปรงฟันให้เด็กและการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กแรกเกิดถึง 4 ปีอย่างถูกวิธีร้อยละ 60 3.3.2 ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน ครูผู้ดูแลเด็ก เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการสอนแปรงฟันและการ ดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอย่างถูกวิธี ร้อยละ 70 3.3.3 เด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง อย่างถูกวิธีร้อยละ 50 3.3.4 หญิงมีครรภ์ในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องตนเองและลูก ได้อย่างถูกวิธีร้อยละ 60 3.3.5 หญิงมีครรภ์ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดและให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากลูกร้อยละ 50 3.3.6 ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองและ การดูแลฟันปลอมร้อยละ 60

4 2.4 เพื่อพัฒนาจัดระบบบริการที่มีคุณภาพ และครอบคลุมประชากรเป้าหมายที่เพิ่มมากขึ้น

3.4 ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับบริการทันตกรรมที่มีคุณภาพและครอบคลุม ร้อยละ 40 3.4.1 เด็กแรกเกิด – 4 ปีที่มารับวัคซีนคลินิกเด็กดี ณ.ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนคร สงขลาทั้ง 2 แห่งได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 60 3.4.2 เด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก การทา ฟลูออไรด์วานิช การอุดฟันด้วยวิธี Smart technic ร้อยละ 60 3.4.3 เด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ได้รับบริการทาฟลูออไรด์วานิช การเคลือบหลุม ร่องฟัน การขูดหินน้ำลาย การอุดฟัน การถอนฟัน ร้อยละ 40 3.4.4 หญิงมีครรภ์ในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับบริการทันตกรรม เช่น การขูดหินน้ำลาย การ อุดฟัน การถอนฟัน ร้อยละ30 3.4.5 ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช การขูดหินน้ำลาย การอุด ฟัน การถอนฟัน ร้อยละ 30

5 2.5 เพื่อสร้างกระแสการแปรงฟันให้เกิดขึ้นภายในชุมชน

3.5 ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง เกิดเป็นการรวมกลุ่มแปรงฟันหลังอาหารกลางวันร้อยละ 40 3.5.1 ผู้ดูแลเด็กแรกเกิด – 4 ปีแปรงฟันหลังอาหารกลางวันให้เด็กร้อยละ 40 3.5.2 โรงเรียนจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันให้เด็กก่อนวัยเรียนร้อยละ 100 3.5.3 โรงเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 – 6 จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันร้อยละ 100 3.5.4 ชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาจัดกิจกรรมแปรงฟันในชมรมร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 5.1 สำรวจข้อมูลจำนวนกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลา 5.2 เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงานให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อขออนุมัติจัดทำโครงการ 5.3 ประชุมชี้แจงติดต่อประสานงาน เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตเทศบาลนครสงขลาเพื่อ ทำความเข้าใจที่ตรงกันสะดวกต่อการสร้างภาคีเครือข่าย 5.4 เตรียมข้อมูล เอกสารต่างๆและวัสดุอุปกรณ์ นวัตกรรมในการจัดทำโครงการ ขั้นดำเนินการ กิจกรรมลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2560 1.ตรวจสุขภาพช่องปากและประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยจากคลินิกสุขภาพเด็กดี ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครสงขลาทั้ง 2 แห่ง 2. ให้ความรู้โดยใช้สื่อและอุปกรณ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมโดยเน้นย้ำการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพร้อมแจกสมุดบันทึกการแปรงฟันของหนูและบัตรนัดมารับบริการครั้งต่อไปทุก 3 เดือน 3. ให้บริการทันตกรรมเบื้องต้น คือ การทาฟลูออไรด์วานิช การเคลือบฟลูออไรด์เจล ติดตามการดูแลสุขภาพช่องปากและเฝ้าระวังการเกิดโรคฟันผุที่อาจลุกลามซึ่งยากต่อการรักษา และหากมีรอยโรคดำเนินไปแล้ว จะนัดให้มารักษาที่เหมาะสมต่อไป กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2560 1 ตรวจฟันเด็กโดยทันตบุคลากรปีละ 2 ครั้ง (เดือนพฤษภาคม 2560 , กันยายน 2560) 2 จัดทำสมุดบันทึกการแปรงฟันรายบุคคลทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนเพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก และ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กได้ลงบันทึกสุขภาพทุกสัปดาห์เพื่อให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพกระทรวงสาธารณสุข 3.จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการทางทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน แก่ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก 4.จัดบริการทันตกรรมตามสภาวะช่องปาก , เคลือบฟลูออไรด์วานิช , อุดฟันแบบSMRT TECHNIC 5.จัดกิจกรรมแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์หลังอาหารกลางวันทุกวัน โดยมีผู้ดูแลเด็กเป็นผู้ควบคุม 6 สนับสนุนกล่องวิเศษเก็บอาหารที่มีโทษต่อฟัน 7 จัดผลไม้เป็นอาหารว่างสำหรับเด็กสัปดาห์ละ 3 – 5 วัน 8 จัดประกวดกิจกรรมเด็กก่อนวัยเรียนฟันสวย ในโรงเรียน 9.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน กิจกรรมสุขภาพดีเริ่มที่ช่องปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2560 1. ตรวจฟันเด็กโดยทันตบุคลากรปีละ 2 ครั้ง (เดือนพฤษภาคม 2560 , กันยายน 2560) 2. จัดบริการทันตกรรมตามสภาวะช่องปาก , เคลือบฟลูออไรด์วานิช , อุดฟันแบบ SMRT TECHNIC กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพเด็กชั้น ป1 – ป6 เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2560 1. จัดทำสมุดแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน เตรียมเอกสารอุปกรณ์ใช้ออกตรวจฟันนักเรียน และนวัตกรรมอาหารที่มีประโยชน์และโทษต่อฟันสำหรับการออกให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็ก 2. ตรวจฟันนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนในเขตเทศบาลนครสงขลาทั้ง 9 โรงเรียน 3. แจกผลการตรวจสุขภาพช่องปากแก่นักเรียนทุกคน เพื่อให้นักเรียนทุกคนและผู้ปกครองได้รับทราบถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน และนำบุตรหลานมารับการรักษาสุขภาพช่องปากได้ทันท่วงทีก่อนที่โรคฟันผุจะลุกลามมากขึ้นกว่าเดิม 4. ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธีแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนในเขตเทศบาลนครสงขลาทั้ง 9 โรงเรียน จำนวน 5,100 คน พร้อมทั้งมีการประกวดและมอบอุปกรณ์สำหรับดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียนที่มีสุขภาพช่องปากที่ดีเพื่อเป็นแรงจูงใจให้แก่นักเรียนคนอื่นเห็นถึงความสำคัญของการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน สถานที่แปรงฟัน อุปกรณ์การแปรงฟันทั้ง 9 โรงเรียนในเขตรับผิดชอบเทศบาลนครสงขลา กิจกรรมคุณแม่ยุคใหม่ ใส่ใจฟันสวย เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2560
1. หญิงมีครรภ์ที่มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี 2. ตรวจสุขภาพช่องปากหญิงมีครรภ์อย่างละเอียดพร้อมบันทึกข้อมูลนำผลที่ได้มาวางแผนการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง 3. นัดหญิงมีครรภ์มาที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและอายุครรภ์ที่สามารถรับบริการทันตกรรมได้คือ
(อายุครรภ์ 4 – 6 เดือน) มารับบริการทันตกรรมจนมีสุขภาพช่องปากที่ดี 4. มีการเยี่ยมหลังคลอดหญิงมีครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ 5. ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของคุณแม่หลังคลอดและช่องปากของเด็กแรกคลอด 6. ฝึกปฏิบัติเช็ดช่องปากเด็กด้วยผ้าอ้อมชุบน้ำอุ่น 7. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาระบบการดูแลทันตสุขภาพผู้พิการเริ่มต้นที่ช่องปาก เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2560 1. เยี่ยมบ้านผู้พิการและคนไข้ติดเตียงพร้อมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธีกับผู้ดูแล 2. สนับสนุนชุดแปรงสีฟันสำหรับผู้พิการพร้อมผ้าเช็ดปาก

กิจกรรมผู้สูงอายุยิ้มสวยสมวัย ใส่ใจฟันดี เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2560 1. จัดกิจกรรม ณ. ชมรมผู้สูงอายุทุกชมรมในเขตเทศบาลนครสงขลา โดยให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างถูกวิธีเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี และผู้สูงอายุที่มารับบริการ ณ. ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง, ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ, PCU ใจกลาง, PCU พาณิชย์สร้างสุข, PCU กุโบร์ร่วมใจ, PCU สมิหรา, และ PCU ชลาทัศน์ โดยการ ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากในวัยผู้สูงอายุพร้อมทั้งสอนการแปรงฟันที่ ถูกวิธีให้ผู้สูงอายุ 2. แนะนำและนัดผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากทุกคนมารับบริการทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากพร้อมได้รับคำแนะนำ อย่างถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปาก 9.2 ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ ช่องปากของตนเองและคนในครอบครัวเพื่อสร้างพฤติกรรมและเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต 9.3 ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับบริการทันตกรรมที่ครอบคลุม ภายใต้ชุดสิทธิ ประโยชน์หลักประกันสุขภาพ 9.4 ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลามีจำนวนฟันผุที่ลดลง และมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2560 14:10 น.