กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิกาญจนบารมี ปี 2562 ตำบลทุ่งลาน
รหัสโครงการ 62- L5169-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2561 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2562
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิน กลับกลาย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.886,100.442place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2561 31 มี.ค. 2562 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของสตรีไทย ในปี 2553 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 13,184 ราย และเสียชีวิตประมาณ 4,665 ราย หรือทุก 2 ชั่วโมงจะพบว่าสตรีไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านม 1 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ในระยะหลังๆ ซึ่งจะมีการลุกลามและแพร่กระจายไปแล้วประมาณ ร้อยละ 56 ถึงแม้ว่ายังไม่ทราบถึงสาเหตุของมะเร็งเต้านมที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยง คือกลุ่มคนที่มีประจำเดือนมาเมื่ออายุน้อย หรือหมดประจำเดือน (Menopause) เมื่ออายุมาก ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารไขมัน และสตรีที่มีญาติพี่น้องสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม และมักพบในสตรีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในสตรีอายุ 20-30 ปีก็พบได้บ่อยเช่นกัน ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการมีก้อนและแผลที่เต้านม หรือมีเลือด น้ำเหลืองไหลออกจากหัวนม       การป้องกันมะเร็งเต้านม คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารไขมัน และการป้องกันที่ดีที่สุด คือการตรวจพบให้เร็วที่สุด ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งทำได้ 2 วิธี คือ
1) การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งสามารถคลำพบก้อนที่โตประมาณ 1 ซม. ขึ้นไปได้ หากตรวจพบในระยะ 2-5 ซม.อัตราการรอดชีวิตมีถึงร้อยละ 75-90 หากคลำพบก้อนขนาด 5 ซม. ขึ้นไปอัตราการรอดชีวิต มีเพียงร้อยละ 15-30 เท่านั้น  2) การตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) จะสามารถพบก้อนได้ตั้งแต่ขนาด 2-3 มม. ขึ้นไป หากพบในระยะนี้การรักษาจะหายเกือบ 100% เพราะมะเร็งมีขนาดเล็กมากยังไม่แพร่ไปที่อื่น
      มูลนิธิกาญจนาบารมี ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำ “โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ในวโรกาสที่เจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ” ระยะที่ 5 5 โดยโครงการดังกล่าว ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2555 เพื่อรณรงค์ให้สตรีที่อยู่ห่างไกลและมีปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม ให้ได้รับการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)  โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น    ทั้งนี้พื้นที่อำเภอคลองหอยโข่งเป็น 1 ใน 4 อำเภอที่จะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวในปีงบประมาณ 2562
      ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน ได้รับการสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การคัดกรองเบื้องต้นทั้งการคัดกรองโดยวาจา การตรวจเต้านมโดยตนเอง และการตรวจเต้านมโดยเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน จึงจัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิกาญจนบารมี ปี 2562 ตำบลทุ่งลาน ขึ้น เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการกับ  มูลนิธิกาญจนบารมีต่อไปอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง อาการโรค และการรักษามะเร็งเต้านม
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อรณรงค์การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ให้กับสตรีและกลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
80.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อค้นหาผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ให้ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมในพื้นที่ได้รับการส่งต่อเข้าตรวจเต้านมจากบุคลากรสาธารณสุข ร้อยละ 100
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม ได้แก่ สตรีที่พบก้อนที่เต้านม หรือมีเลือดหรือน้ำเหลืองออกทางหัวนม ได้รับการส่งต่อเข้าตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) ร้อยละ 100
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 1 10,000.00
1 ธ.ค. 61 - 31 มี.ค. 62 จัดประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง อาการโรค และการรักษามะเร็งเต้านม สอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 0 10,000.00 10,000.00

ขั้นเตรียมการ 1) ประชุมเจ้าหน้าที่ เพื่อกำหนดแนวทาง/โครงการในการเตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ และแผนปฏิบัติการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน 2) เขียนโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิกาญจนบารมี ปี 2562 ในการดำเนินโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพวรางกูร ในวโรกาสที่เจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ระยะที่ 5 ของจังหวัดสงขลา เพื่อเสนออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งลาน และ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด 3) ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ แบบฟอร์ม เอกสารที่จำเป็น ขั้นดำเนินการ 1) จัดประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง อาการโรค และการรักษามะเร็งเต้านม สอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
2) คัดกรองเบื้องต้นทั้งการคัดกรองโดยวาจา และการตรวจเต้านมโดยเจ้าหน้าที่ 3) จัดทำทะเบียนสตรีกลุ่มเป้าหมายที่พบภาวะเสี่ยง หรือความผิดปกติ โดยในรายที่ต้องได้รับการดูแลรักษาแบบเร่งด่วนส่งต่อเข้ารับการรักษาตามระบบปกติ ในรายที่ไม่เร่งด่วนเตรียมส่งเข้าร่วมกิจกรรมและทำ Mammogram กับมูลนิธิกาญจนบารมี ขั้นหลังดำเนินการ 1) กำหนดแนวทาง เครื่องมือประเมินผลในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกิจกรรม
2) ส่งต่อสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเข้าตรวจเต้านมจากแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ของโรงพยาบาลคลองหอยโข่งฯ และมูลนิธิกาญจนบารมีในเดือนมกราคม 2562 3) สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) สตรีกลุ่มเป้าหมาย และอาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองและสามารถเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนในชุมชน
2) สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และผู้ที่มีความผิดปกติของเต้านมสามารถขอรับบริการตรวจรักษาที่เหมาะสมได้โดยเร็ว 3) ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกมีโอกาสได้รับการรักษาหายขาด และลดอัตราป่วยและตายจากโรคมะเร็งเต้านมได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2561 14:17 น.