กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ 62-L5270-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชายทะเล
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นส.พาขวัญ สุวรรณรัตน์ นางเจตสุภา หวังขะเด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.304,100.497place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 35,580.00
รวมงบประมาณ 35,580.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการที่ดี เป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิตโดยเฉพาะในช่วงที่มีการเจริญเติบโตตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่น เนื่องจากการเจริญเติบโตมีทั้งด้านสมองและร่างกาย หากขาดอาหาร สิ่งที่พบเห็นคือ เด็กตัวเล็ก ผอม เตี้ย ซึ่งเป็นการแสดงออกทางด้านร่างกาย แต่ผลที่เกิดขึ้นมิใช่แค่เพียงด้านร่างกายเท่านั้น ยังมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วยทำให้สติปัญญาต่ำ เรียนรู้ช้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ประสิทธิภาพการทำงานจะต่ำ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งการเจริญเติบโตของเด็กในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี เป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างมากต่อโครงสร้างทางด้านร่างกายและสมอง โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมอง ส่งผลต่อระดับเชาวน์ปัญญาและพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งมีผลต่อการสร้างภูมิต้านทานโรค ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มตามศักยภาพ   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชายทะเล หมู่ 7 ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเจริญเติบโตของเด็ก จึงได้จัดทำโครงการ  การประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น เพื่อให้เด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 4 ศูนย์ ในสังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ และมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง ทำให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยในทุกด้าน พร้อมจะเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 104 คน

ร้อยละ 100 ของเด็กได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทุกสัปดาห์

0.00
2 เพื่อให้เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไข

ร้อยละ 100 ของเด็กภาวะผอม ลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 104 คน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไข

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรม ประชุมคณะทำงาน 900.00 -
1 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรม ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในการดูแลน้ำหนักเด็ก 18,600.00 -
1 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมจัดซื้ออาหารเช้าสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม) 10,000.00 -
1 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักพร้อมที่วัดส่วนสูง 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง หากชำรุดขอสนับสนุนกองทุนฯเพื่อจัดหาทดแทน

    2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็กในศูนย์ ทุก 1 เดือน

  1. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในแบบประเมินภาวะโภชนาการของศูนย์เด็ก พร้อมแจ้งพ่อแม่หรืผู้ปกครองทราบ

  2. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ

  3. ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ รพ.สต. มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)

  • ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม

  • วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก

  • ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง

    • วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
  • การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก

  1. ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักน้อยหรือผอม โดย

    6.1 ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  • ครูผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ ๖๐ นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)

  • กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)

    6.2 ที่บ้าน

  • พ่อแม่ ผู้ปกครอง กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน  กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติม กรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)

    7. จัดหาอาหารเช้าเพิ่มเติมให้แก่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ(ผอม) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  1. ชั่งน้ำหนัก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง / วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3 เดือน และแนะนำพ่อแม่หรือผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง

  2. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน ทั้ง 4 ศูนย์ มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2562 19:01 น.