กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้
รหัสโครงการ L4145/62/08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปาแดรู
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 ตุลาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแวฟาตีเมาะ ดีแม
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ปาแดรู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.502,101.063place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันพบว่ามีความซับซ้อนมากขึ้นตาม การเปลี่ยนแปลงของสังคมเศรษฐกิจความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแบบแผนการดำเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ซึ่งโรคไม่ติดต่อบางอย่างเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ของบุคคล เช่นการบริโภคที่ไม่เหมาะสมขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการจัดการกับความเครียด สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่เรื้อรัง หากไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างต่อเนื่องในระยะแรกๆอาจจะไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นทำให้เกิดการละเลยได้ไม่สนใจในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนซึ่งไม่สามารถแก้ไขหรือรักษาให้หายขาดได้ และมักจะนำไปสู่ความทุกข์และภาวะทุพลภาพ หรืออาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต มักจะเกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ ตา สมอง ไต ระบบประสาท โรคเหล่านี้จะเป็นภาวะเสี่ยงในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งจะเป็นกลุ่มวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ระบบการทำงานของร่างกายเริ่มมีความเสื่อมสภาพลงเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่ายแต่โรคนี้ก็สามารถควบคุมได้โดยการตรวจสุขภาพและการควบคุมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรักษาอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง และเหมาะสม เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ในการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ ดังคำขวัญที่ว่า “ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้” มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพเชิงรุกโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนสนับสนุนให้เกิดการสร้างสุขภาพโดยเน้นให้ตระหนักและใส่ใจสุขภาพร่วมกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน เพื่อให้เกิดการมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคที่ไม่ควรเป็นหรือป้องกันได้
จากผลการดำเนินงาน ปี 2561 ด้านสาธารณสุข ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรู  หมู่ที่ 1, 3,5 ได้ดำเนินการคัดกรองภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป พบว่าความครอบคลุมการคัดกรองร้อยละ 98.68 และแยกกลุ่มปกติ จำนวน 824 คน  ร้อยละ 77.59 กลุ่มเสี่ยง จำนวน106 คน ร้อยละ9.99 และกลุ่มเสี่ยงสูง 132 คนร้อยละ12.32 ซึ่งกลุ่มเหล่านี้หากมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ถูกต้องอาจส่งผลต่อภาวะสุขภาพที่ดีลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานภาวะแทรกซ้อน
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรู อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา หากกลุ่มต่างๆมีพฤติกรรม ที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาตลอดจนการเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับกาตรวจคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 2. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตควบคุมความดันได้ดีมากกว่า ร้อยละ 50โรคเบาหวานควบคุมน้ำตาลได้ดี มากกว่าร้อยละ 40 3. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มากกว่าร้อยละ 70 4. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องไม่เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

วัตถุประสงค์         1.ประชาชนอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90

        2. กลุ่มป่วยเป็นโรคความดันโลหิตควบคุมความดันได้ดีมากกว่าร้อยละ 50โรคเบาหวานควบคุมน้ำตาลได้ดี มากกว่าร้อยละ 40

      3. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวานได้รับ  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  มากกว่าร้อยละ 70

      4 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 70





วัตถุประสงค์         1.ประชาชนอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90

        2. กลุ่มป่วยเป็นโรคความดันโลหิตควบคุมความดันได้ดีมากกว่าร้อยละ 50โรคเบาหวานควบคุมน้ำตาลได้ดี มากกว่าร้อยละ 40

      3. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวานได้รับ  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  มากกว่าร้อยละ 70

      4 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 70





วัตถุประสงค์         1.ประชาชนอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90

        2. กลุ่มป่วยเป็นโรคความดันโลหิตควบคุมความดันได้ดีมากกว่าร้อยละ 50โรคเบาหวานควบคุมน้ำตาลได้ดี มากกว่าร้อยละ 40

      3. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวานได้รับ  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  มากกว่าร้อยละ 70

      4 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1. การรณรงค์การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 1. สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายโดยอาสาสมัครสาธารณสุข 2. ประชาสัมพันธ์โครงการคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขแบบเคาะประตูบ้านและเสียงตามสายที่มัสยิดทุกหมู่บ้าน 3. เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขดำเนินการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวานแบบเชิงรุกในชุมชนที่ตนเองรับผิดชอบ 4. อาสาสมัครสาธารณสุขส่งข้อมูลจากการคัดกรองให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข บันทึกข้อมูลในโปรแกรม HCIS เพื่อประมวลข้อมูลแยกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเป็นโรค และนำมาวางแผนแก้ไขและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของแต่ละกลุ่มให้ถูกต้อง พร้อมทั้งวางแผนการดูแลตามมาตรฐานในแต่ละกลุ่ม


กิจกรรมที่ 2. การสร้างความเข้าใจ

  1. จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงสูงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ ที่เหมาะสม
  2. ให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยแล้วในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
  3. จัดทำค่ายในกลุ่มเสี่ยง/เสี่ยงสูง โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแบบไม่ต้องพักค้างแรม   โดยทีมสหวิชาชีพใน การจัดกิจกรรมตามฐานซึ่งแต่ละฐานจะสอดแทรกความรู้ในการ
    ปฏิบัติตนที่ถูกต้องประกอบด้วย           -ฐานให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคความดัน/เบาหวาน(อยู่อย่างไรห่างไกลโรคเรื้อรัง)           -ฐานความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา           -ฐานโภชนาการให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารในท้องถิ่น
              -ฐานการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพและห่างไกลโรคเรื้อรัง
          กิจกรรมที่ 3. การติดตามและดูแลกลุ่มเสี่ยง/เสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน
  4. มีการติดตามการเยี่ยมบ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เพื่อนำปัญหามาวิเคราะห์ ในการดูแลตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม         2.  มีการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง/เสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานทุกราย
    1. จัดทำแผนเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามเยี่ยมทุกรายอย่างน้อย 6 เดือนครั้งตามสภาพ


          กิจกรรมที่ 4. การควบคุมกำกับและประเมินผล       1. ติดตามผลการดำเนินงาน           2. ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินและแก้ไขจากผลการดำเนินงานตามโครงการ           3. สรุปผลงานโครงการเป็นระยะๆ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานร้อยละ 90 และส่งต่อ
            โรงพยาบาลรายที่พบผิดปกติทุกคน ประเมินจากรายงานโรคไม่ติดต่อโปรแกรม HCIS/HDC
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/เสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดย เจ้าหน้าที่/อาสาสมัครสาธารณสุขและได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง
  3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรูสามารถจัดบริการสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพและ      ทั่วถึง ประชาชนมีความพึงพอใจในบริการ ภาคีเครือข่ายและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและ      ดำเนินงานสาธารณสุข และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรู ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2562 12:45 น.