กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม. นครหาดใหญ่ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L7258-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. เทศบาลนครหาดใหญ่
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 129,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัณฑิมา ไพรสนธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีเพราะมียุงลายชุกชุม  และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 -14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี ซึ่งนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในชุนชน เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
โรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่  ยังเป็นภัยคุกคามประชาชนซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ไข  ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรคไข้เลือดออกระบาดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เนื่องจากบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น  ทำให้ยุงที่มีเชื้อโรคจากบ้านผู้ป่วย  สามารถบินไปกัดคนอื่นๆ ที่อยู่บ้านใกล้เคียงบ้านผู้ป่วยได้ง่าย  ประกอบกับประชาชนการขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ป้องกันควบคุมโรคไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี และไม่ต่อเนื่อง บ้านเรือนประชาชนส่วนใหญ่  ยังไม่ได้กำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจัง จึงทำให้มียุงลายเกิดขึ้นใหม่ในชุมชนเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่  ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และการจะแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น ประชาชนต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดความตระหนัก และเกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นจิตอาสาในชุมชน มีหน้าที่แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี  หาก อสม.  ทุกชุมชนมีความรู้ที่ถูกต้องและพร้อมใจกันก็จะเป็นพลังชุมชนในการช่วยกันดูแล ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน  และเชื่อได้ว่า ชาวนครหาดใหญ่จะปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก  และมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่จึงได้จัดทำโครงการ อสม. นครหาดใหญ่ร่วมใจ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อให้ อสม. แกนนำชุมชน ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และมีศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในชุมชน 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และการป้องกันควบคุมโรคที่ถูกวิธี ให้อสม. แกนนำชุมชนให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน 3. เพื่อให้ อสม. ประชาชนในชุมชนเกิดพฤติกรรมในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 4. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือ การทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน แกนนำชุมชน และประชาชนในการแก้ไขปัญหา และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  1. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
  2. ชุมชนมีจำนวนหลังคาเรือนที่พบลุกน้ำยุงลาย ไม่เกินร้อยละ  10 (HI < 10)    ไม่น้อยกว่า ร้อยละ  70 ของชุมชนทั้งหมด
  3. ชุมชนต่าง ๆ มีการดำเนินกิจกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกวิธี และมีความต่อเนื่อง
    ไม่น้อยกว่าร้อยละ  70  ของชุมชนทั้งหมด
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1000 129,500.00 3 129,500.00
4 ก.พ. 62 สื่อสารและประชาสัมพันธ์ 1,000 81,200.00 81,200.00
18 ก.พ. 62 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0 37,500.00 37,500.00
22 ก.พ. 62 ครุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ 0 10,800.00 10,800.00
  1. เสนอโครงการต่อเทศบาลเพื่อขออนุมัติ
    1. แต่งตั้งคณะทำงานโครงการ
    2. จัดประชุมคณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันควบคุมโรค ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์บริการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น นโยบายเทศบาลและข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
    3. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ทรายอะเบท แผ่นพับความรู้ แบบฟอร์มสำรวจลูกน้ำยุงลาย รถประชาสัมพันธ์ วิทยากร ฯ
  2. ดำเนินงานตามแผน ดังนี้
    4.1 มาตรการด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก ดังนี้
  3. อสม. สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก รู้จักป้องกันตนเองและร่วมมือในการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน  โดยผ่านสื่อประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย รถประชาสัมพันธ์ อสม.เดินเคาะประตูบ้าน  ป้ายประชาสัมพันธ์  การแจกเอกสารแผ่นพับ ฯ
    1. จัดกิจกรรมเดินรณรงค์สร้างกระแสการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก  โดยเฉพาะชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก เพื่อกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  4. อสม. แต่ละชุมชน ลงพื้นที่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อสำรวจลูกน้ำยุงลายและติดตามกระตุ้นเตือนให้ทุกครัวเรือนเกิดพฤติกรรมการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และ อสม. ประเมินค่า HI CI ส่งรายงานสำรวจลูกน้ำยุงลายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

    1. แกนนำ อสม. แต่ละชุมชน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน แก้ไขปัญหา และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานในพื้นที่ เขตละ 1 ครั้ง

    4.2 มาตรการด้านการควบคุมโรคไข้เลือดออก ดังนี้   อสม. Hot line ไข้เลือดออก เพื่อรายงานและติดตามสถานการณ์และดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดของไข้เลือดออกพื้นที่รับผิดชอบ  โดยดำเนินงานดังนี้

  5. เมื่อพบผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออก ต้องรายงานเข้ามายัง Line สมาชิก ชมรม อสม. ท.หญ. ทันที และรายงานไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข และฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค
  6. ร่วมกับทีม SRRT ดำเนินการสอบสวนควบคุมโรค
  7. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบข้อมูลการระบาดของโรค
  8. อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่เพิ่มความเข้มข้นในการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย
  9. ประเมินผลการควบคุมโรคและการกำจัดลูกน้ำยุลาย เฝ้าระวังและติดตาม ในชุมชนอย่างต่อเนื่องโรคจะสงบ
  10. อสม. ในพื้นที่รายงานผลการควบคุมโรคทาง Hot line ไข้เลือดออก
  11. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม. แกนนำชุมชน ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ตระหนักถึงพิษภัยของไข้เลือดออก และสามารถช่วยกันป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้     2. สามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้เป็นอย่างดี และผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
    1. ชุมชนมีความเข้มแข็งด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2562 15:33 น.