กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน
รหัสโครงการ 62-L7258-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขหาดใหญ่ชีวาสุข
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 260,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาบทิพย์ เพ็ชรสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสุรางคณา ทิพยาวาศรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 185 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา ๒๔๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑ ให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ตามวิธีการและรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๒๕๐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอํานาจดูแลและจัดทําบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี ยุทธศาสตร์ที่๔ ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาส
และความเสมอภาคทางสังคมในการเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง ซึ่งสอดคลองเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ที่มียุทธศาสตร์ในการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และแผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่๑ ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพและมีสุขภาพที่ดี แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่๑ พ.ศ.๒๕๖๐–๒๕๖๔ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่๓ ด้านการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ และยุทธศาสตร์ที่๔ ด้านการสร้างความเข้มแข็งของการบริหาร และนโยบายของภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนสมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน และจากรายงานประจำปี สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย พบว่า พ.ศ.๒๕๕๔ พบว่า มารดาและทารกได้รับการดูแลหลังคลอดโดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขร้อยละ ๖๑.๓ และ ๖๒.๕ ตามลำดับ พ.ศ.๒๕๕๙ มารดาหลังคลอดและทารกได้รับการดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ ๗๑.๓ และ ๗๕.๓ ตามลำดับ จากข้อมูลพบว่าการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของมารดาหลังคลอดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังคงต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการผดุงครรภ์ไทยเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีบทบาทในงานอนามัยแม่และเด็ก ศาสตร์ด้านการผดุงครรภ์ไทยนั้นนับเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทย ซึ่งการผดุงครรภ์ไทยจะประกอบไปด้วยการอยู่ไฟ การทับหม้อเกลือ การประคบสมุนไพร การเข้ากระโจม ตลอดจนการนวดหลังคลอด ซึ่งเป็นการสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไทย สุขภาพวิถีไทย พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔ จะเป็นการพัฒนาระบบสุขภาพเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยและส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพและบำบัดรักษาโรค
เทศบาลนครหาดใหญ่ได้มีนโยบายด้านการสาธารณสุข เพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกในการรับบริการด้านสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยการจัดตั้งเป็นศูนย์บริการสาธารณสุขหาดใหญ่ชีวาสุขขึ้น เพื่อให้บริการประชาชนด้วยการแพทย์ผสมผสาน เน้นการเรียนรู้และบูรณาการความรู้ด้านการแพทย์และภูมิปัญญาตะวันออก อีกทั้งทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้มีการดำเนินโครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุกมาอย่างต่อเนื่อง ศูนย์บริการสาธารณสุขหาดใหญ่ชีวาสุข เทศบาลนครหาดใหญ่ จึงเห็นถึงความสำคัญและจัดทำโครงการ“ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน” ขึ้นเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานอย่างทั่วถึง ซึ่งในการจัดทำโครงการในครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดในงานอนามัยแม่และเด็กในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ให้ได้รับการดูแลแบบบูรณาการมากขึ้นอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจด้านภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจด้านภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐

0.00
2 ๒. เพื่อให้มารดาระหว่างตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่มีความรู้และสามารถปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์ด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานได้อย่างเหมาะสม

มารดาระหว่างตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่มีความรู้และสามารถปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ ๘๐

0.00
3 ๓. เพื่อให้มารดาหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพของการแพทย์แผนไทย

มารดาหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสานอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพของการแพทย์แผนไทย ร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 66,593.00 3 169,050.00
21 ม.ค. 62 - 1 ก.ค. 62 กิจกรรมส่งสุขภาำมารดาหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทย 0 68.00 68,750.00
2 เม.ย. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและหญิงหลังคลอด 0 66,400.00 66,400.00
13 ก.ค. 62 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน 0 125.00 33,900.00

๑. รวบรวมข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ตามอายุครรภ์ที่กำหนด ๒. นำเสนอข้อมูลและประสานงานกับคณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓. ประชาสัมพันธ์โครงการและวางแผนการดำเนินงาน ๔. รวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจง วัน เวลา และสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรม ๕. แผนดำเนินงาน ดังนี้ การดำเนินงาน จัดเป็น ๓ กิจกรรม ดังนี้ ๖.๑ กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน (เป้าหมาย ๒๐๐ คน) ๖.๒ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาไทย (เป้าหมาย ๒๕ คน) ๖.๓ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ผสมผสาน
(เป้าหมาย ๖๐ คน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. มารดาระหว่างตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ได้เข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทยอย่างทั่วถึง ๒. มารดาระหว่างตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่มีความรู้และมีเจตคติที่ดีในเรื่องการผดุงครรภ์ไทย
๓. มารดาหลังคลอดที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยมีภาวะสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจโดยรวดเร็ว ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถทำงานได้เป็นปกติ สามารถเลี้ยงดูบุตรได้อย่างมีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2562 15:57 น.