กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L5192-4-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 142,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรอุมาการะกรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในท้องถิ่น เป็นกองทุนที่สำคัญในระบบสุขภาพของเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และประสานหน่วยงานขององค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เข้ามาค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่น
ในการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่  เน้นการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมใน ๔ ลักษณะ คือ ๑. การจัดซื้อบริการชุดสิทธิประโยชน์ ๒. ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานหน่วยบริการสาธารณสุขที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่น ๓. การสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น ๔. การบริหารจัดการ/พัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ จึงจำเป็นต้องมีการประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินงาน ตลอดจนการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานของกองทุนฯ ดังนั้น คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลลำไพล สามารถเข้าถึงการส่งเสริมสุขภาพจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล
  1. ประชาชนในพื้นที่ตำบลลำไพล ร้อยละ 80จาก กลุ่มเป้าหมายหลัก (ตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)เข้าถึงการส่งเสริมสุขภาพจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล
2 2. คณะกรรมการกองทุนสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อการดำเนินการตามโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ
  1. โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถขับเคลื่อนกิจกรมในการเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3 3. เพื่อให้คณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพในพื้นที่และผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจแนวทางในการบริหารกองทุนไปในทิศทางเดียวกัน
  1. ประชุมคณะกรรมการ ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง ต่อปี
4 4. เพื่อบูรณการและสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรและประชาชนในพื้นที่
  1. หน่วยงาน องค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆไม่น้อยกว่าร้อยละ 80มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
5 5. เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบล ลำไพล
  1. ของโครงการที่ได้รับการอนุมัติมีการติดตามและประเมินผล ร้อยละ 80
6 6.เพื่อประชาสัมพันธ์กองทุนฯและการดำเนินงานของกองทุนฯ.
  1. มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของกองทุนและโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณฯ จำนวน ไม่น้อยกว่า 24 ครั้ง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมในรูปแบบคณะกรรมการ และประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อชี้แจงระเบียบหลักเกณฑ์ของกองทุนฯแจ้ง สถานะทางการเงิน การสนับสนุนงบประมาณ การเสนอโครงการ การพิจารณาโครงการการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการการให้คำปรึกษาการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโดยทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ
  2. จัดซื้อคอมพิวเตอร์กระดาษ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการรายงานการดำเนินงาน
  3. จัดทำป้ายเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์กองทุน และการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล
  4. ส่งเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุมเพื่อการเพิ่มความรู้ใหม่ๆที่ทางกองทุนจัดขึ้น
  5. สนับสนุนการกำกับ ดูแล และติดตามการดำเนินโครงการในรูปแบบพี่เลี้ยง
  6. จัดทำเอกสารประกอบการรายงานผลการดำเนินโครงการในรูปเล่ม และการรายงานแบบสารสนเทศ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล เข้าใจแนวทางการบริหารกองทุนฯ อย่างมี ประสิทธิภาพ
  2. องค์กรและประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของกองทุนฯ 3. การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2560 13:20 น.