กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านมด้วยตนเอง
รหัสโครงการ 60-L5199-59
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทุ่งข่า
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2559 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,825.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ทุ่งข่า
พี่เลี้ยงโครงการ นายธีรสิทธิ์กุลสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าประดู่ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.681,100.73place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 455 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งข่าได้จัดทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี พ.ศ.2559 สตรีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 361 คน ได้มารับการตรวจคัดกรอง จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 24.43 จะเห็นได้ว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายยังไม่ตระหนักและเห็นความสำคัญของการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเนื่องจากคิดว่ายังเป็นเรื่องที่ไกลตัวสำหรับสตรีและเห็นความสำคัญของการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเนื่องจากคิดว่ายังเป็นเรื่องที่ไกลตัวสำหรับสตรีและปัญหาของสตรีที่ไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชนมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับความรู้ ความเชื่อ และแรงจูงใจ ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจจึงเป้นกลวิธีหนึ่งที่สำคัญในการส่่งเสริมให้สตรีมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 2.เพื่อให้สตรี 30 -60 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก 3.เพื่อให้สตรี อายุ 30-70 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 4.สตรี อายุ 30 ปี ขึ้นไปที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อตามแนวทางที่กำหนด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา ผลกระทบรวมถึงการป้องกันโรคมะเร็ง/แนะนำการตรวจเต้านมด้วยตนเองให้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายและอาสาสมัครเพื่อแนะนำสตรีในเขตรับผิดชอบ 2.สร้างเครือข่ายการดำเนินงานโดย อสม.ประชาสัมพันธ์และแนะนำกลุ่มเป้าหมายที่ตนเองรับผิดชอบชักจูงให้มารับบริการการตรวจโดยมีแผ่นพับและหนังสือเชิญชวนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนมีความรู้และตระหนักในการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม 2.กลุ่มสตรี อายุ 30 -60 ปี จำนวน 382 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 30 ของจำนวนกลุ่มเป้าหมาย คิดเป็นจำนวน 115 คน 3.กลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปีขึ้นไป จำนวน 455 คน ได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเองมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 95 คิดเป็นจำนวน 433 คน ของจำนวนทั้งหมด 4.ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมาย 5.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อในการรักษาได้ทันท่วงที

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2560 13:40 น.