กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และชิคุนกุนยา ในชุมชนสถานีอู่ตะเภา
รหัสโครงการ 62-L7258-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนสถานีอู่ตะเภา
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,060.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมศักดิ์ หนูช่วย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยา เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้ระบาดในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช่จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ หรือแหล่งขยะ ที่ก่อให้เกิดน้ำขัง จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การปรับพื้นที่สิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก โดยเฉาะการจัดการแหล่งขยะในพื้นที่อย่างถูกวิธี ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกระบาดในชุมชน เนื่องจากบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้ยุงที่มีเชื้อโรคจากบ้านผู้ป่วย สามารถบินไปกัดคนอื่นๆ ที่อยู่บ้านใกล้เคียงได้ง่าย ประกอบกับประชาชนขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ป้องกันควบคุมโรคไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี และต่อเนื่อง บ้านเรือนประชาชนส่วนใหญ่ ยังไม่ได้กำจัดลูกน้ำอย่างจริงจัง จึงทำให้มียุงลายเกิดขึ้นใหม่ในชุมชนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทางชุมชนสถานีอู่ตะเภา ได้จัดทำโครงการ รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และชิคุนกุนยา ในชุมชนสถานีอู่ตะเภาขึ้น โดยดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในอาคารบ้านเรือน และชุมชน จัดการสิ่งแวดล้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ ทำความสะอาดรอบบ้านเรือน เก็บขยะ ล้างท่อระบายน้ำไม่ให้มีน้ำขัง เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นการสร้างจุดแข็งของชุมชนในการดำเนินการควบคุมลูกน้ำยุงลาย ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยา และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อประชาสัมพันธ์และให้ความรู้คนในชุมชนสถานีอู่ตะเภา

ประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ และพื้นที่เป็นพาหะนำโรคในชุมชน

แหล่งเพาะพันธุ์โรคในชุมชนลดลง

0.00
3 เพื่อลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา ในชุมชนสถานีอู่ตะเภา

ผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชนน้อยลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 26,060.00 5 16,660.00
20 ก.พ. 62 ประชุมเตรียมงาน 20 1,000.00 1,000.00
20 ก.พ. 62 ค่าวัสดุและครุภัณฑ์ 0 9,400.00 -
20 ก.พ. 62 การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ 0 3,760.00 3,760.00
25 ก.พ. 62 อบรมให้ความรู้ 60 10,200.00 10,200.00
25 ก.พ. 62 เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน 60 1,500.00 1,500.00
30 ส.ค. 62 สรุปผลโครงการ 0 200.00 200.00
  1. เขียนโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่

  2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ มีการประชุมเตรียมงานและประชุมติดตามและสรุปผลการ

  3. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4.ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน เพื่อลดพื้นที่เสี่ยงในการเกิดโรค

5.จัดเตรียมสื่อ ป้ายความรู้ไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา การจัดการขยะการจัดการขยะเปียกและการแยกขยะแห้งเพื่อการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ (การจัดเก็บและกำจัดด้วยถังขยะแยกประเภท และการแปรรูปขยะให้เป็นประโยชน์) เพื่อลดแหล่งที่ก่อให้เกิดนำท่วมขังในพื้นที่

6.แต่งตั้งคณะทำงานชุมชน และตัวแทนครัวเรือนหรือผู้นำที่สนใจและมีความสามารถในการทำงานด้านปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน

7.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และ การจัดการขยะ

8.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม

9.การค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ชิคุนกุนยา และการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธี แก่เจ้าของบ้านและคณะทำงาน เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้

10.เดินรณรงค์ในชุมชนสถานีอู่ตะเภา

11.ตรวจประเมินบ้านจัดการขยะ เพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย

12.ประชาสัมพันธ์ให้ครัวเรือนจัดการขยะของชุมชน ผ่านหอกระจายข่าวของชุมชน และในที่ประชุมชุมชน

13.ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนสถานีอู่ตะเภา มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา เพิ่มขึ้น สามารถป้องกัน ดูแลตนเองและคนในครอบครัวได้
  2. ประชาชนในชุมชนสถานีอู่ตะเภาสามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์โรคได้ ทำให้แหล่ง เพาะพันธุ์โรคในชุมชนลดลงและผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2562 14:21 น.