กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกวัดรวมใจ ห่างไกลโรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 60/L8404/02/15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ม.6
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มกราคม 2560 - 18 มกราคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทวีบัวชื่น
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ท่าจีน
พื้นที่ดำเนินการ ม.6ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,100.53place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้นจึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวทางร่างกายน้อยลง ขากการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัยหาสำคัยทางด้านสาธารณสุข โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารรสุขที่สำคัญของทุกประเทสทั่วโลกโดยเฉพาะในกลุ่มผุ้สุงอายุ พบว่าทั่วโลกมีจำนวนผุ้ป่วยความดันโลหิตสุงถึง 970 ล้านคน โดยองค์การอนามัยโลกคาดว่าในปี พ.ศ.2568 จะมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเป็น 1,560 ล้านคน (WHO,2010) สำหรับประเทศไทยโรคความดันโลหิตสุงเป้นโรคเรื้อรังที่มีคนจำนวนมากเป็นโรคนี้โดยร้อยละ 90 - 95 มักไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่เชื่อว่ามี ปัจจัยเสี่ยงจากการละเลยวิถีการดำเนินชีวิตของการมีสุขภาพที่ดี กรรมพันธ์ุ และความเสื่อมของทางร่างกายตามอายุขัยของบุคคล และยังกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงโรค และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร นอกจากนั้นโรคความดันโลหิตสูงเป็น 1 ใน 3 อันดับแรกของโรคที่ตรวจพบ ในแต่ละปี จึงมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มจำนวนมากขึ้นและยังเป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่อาจเสียชีวิตฉับพลัน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิต รวมทั้งการสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูงทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และองค์กรต้นสังกัด อันตรายจากภาวะของโรคนี้คือ ผู้ป่วยอาจมีอาการของดรคเพียงเล็กน้อย เช่น มึนศรีษะบริเวณท้ายทอย หรือไม่มีอาการเลยได้นานหลายปี จึงเป็นการยากในการตรวจสอบจนกระทั่งปรากฏร่องรอยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจห้องล่างซ้ายโต ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดแดงส่วนปลายผิดปกติ จอประสาทตาเสื่อม (จันทนารณฤทธิวิชัย,2552;ผ่องพรรณ อรุณแสง,2552;วิไลวรรณทองเจริญ,2554) เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เกิดการแตกและอุดตัน 3-5 เท่า (จันทนารณฤทธิวิชัย,2552)ทำให้สูญเสียปีสุขภาวะจากการพิการปีละ 600,000 คน (ร้อยละ 6 ของDALYs) ทำให้เสียชีวิตประมาณปีละ 70,000 ราย (ร้อยละ 18 ) ทำให้เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม (สำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนา หลักประกันสุขภาพไทย,2552) มีอัตราการตายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง 37.9 ต่อประชากรแสนคน(สำนักงานดรคไม่ติดต่อ,2555) ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากผลการสำรวจเบื้องต้น ข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนบ้านออกวัด หมุ่ที่ 6 ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงเกี่ยวกับการกินอาหารรสจัด จำนวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 45.59 ซึ่งการกินอาหารรสจัดเป็นสาเหตุส่งเสริมที่จะก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสุง และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูงอยุ่เดิม ซึ่งจากการสำรวจ พบว่าประชานเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 14.28 และพบว่าประชาชนไม่ได้ออกกำลังกาย จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 26.35 ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูง นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยบรมราชชนนีสงขลา โดยความร่วมมือของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าจีน ประชากรหมุ่ที่ 6 บ้านออกวัด ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการ ออกวัดรวมใจ ห่างไกลดรคความดันโลหิตสุง ปี 2560 เพื่อให้ประชาชนมีความรุ้และตระหนักในการดูแลตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อการมีสุขภาพดี ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสุง และการสุญเสียของประชาชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ปชช.ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในระดับดี

เพื่อให้ปชช.ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในระดับดีร้อยละ 80 หลังสิ้นสุดโครงการ

2 เพื่อให้ปชช.ที่เข้าร่วมโครงการมรความตระหนักในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง หลังเสร็จสิ้นโครงการ 2 สัปดาห์

เพื่อให้ปชช.ที่เข้าร่วมโครงการมรความตระหนักในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 80 หลังเสร็จสิ้นโครงการ 2 สัปดาห์

3 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง หลังเสรผ้จสิ้นโครงการ 3 สัปดาห์

เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 60 หลังเสรผ้จสิ้นโครงการ 3 สัปดาห์

4 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมในระดับมาก

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมในระดับมากร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นวางแผนเตรียมการ 1.1แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการประกอบด้วยนักศึกษาและตัวแทนชุมชนบ้านออกวัด ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 1.2ประชุมร่วมกับคณะกรรมการผู้นำชุมชนตัวแทนชุมชน เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงานโครงการเพื่อเตรียมจัดโครงการ 1.3เขียนโครงการ 1.4นำเสนองานกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าจีน ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อสม.และคณะกรรมการจัดโครงการ 1.5ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าจีนและอื่นๆ 1.6จัดทำหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมโครงการ 1.7ประชาสัมพันธ์ุโครงการโดยประชาสัมพันธ์ุผ่านหอกระจายข่าวของชุมชน การบอกผ่านทางผู้นำชุมชน การประกาศตามชุมชนและการส่งหนังสือเรียนเชิญเข้าร่วมโครงการ 1.8จัดเตรียมสถานที่ในการจัดทำโครงการ 1.9จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำโครงการ 1.10เตรียมการแสดงเพื่อเปิดโครงการจากนักศึกษาพยาบาลวิพบ.สงขลา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ปชช.เข้าร่วมดครงการ มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 2.ปชช.ที่เข้าร่วมโครงการ มีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 3.ปชช.ที่เข้าร่วมดครงการไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง 4.ประชาชนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ และสามารถนำสิ่งที่ได้จากโครงการไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นและเข้าร่วมโครงการอื่นๆต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2560 15:02 น.