กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 60-L8404-02-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ม.8
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 พฤศจิกายน 2559 - 27 พฤศจิกายน 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิไล สินแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ท่าจีน
พื้นที่ดำเนินการ ศาลาโคกร่มเย้น หมู่ที่ 8 ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,100.53place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวทางร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวันอันควรโรคความดดันโลหิตสูงเป็นภาวะโรคไร้เชื้อเรื้อรังที่มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบเร็วขึ้นในกลุ่มอายุน้อยและพบเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น (พานทิพย์ แสงประเสริฐ,๒๕๕๔)ปัจจุบันประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทยที่ประสบอยู่ โดยคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.๒๕๖๘ จะประสบปัญหาโรคความดันโลหิตสูง ๑.๕ ล้านคน (จดหมายข่าว วช,๒๕๔๙)ซึ่งอัตราตายต่อประชากรแสนคน จากโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ ๓.๙ ส่วนอัตราป่วยในต่อแสนประชากรด้วยโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ ๘๖๐.๕๓ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข,๒๕๕๑)อันตรายจากภาวะของโรคนี้คือ ผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคเพียงเล็กน้อย เช่น มึนศรีษะท้ายทอย หรือไม่มีอาการเลยได้นานหลายปี จึงเป็นการยากในการตรวจสอบ จนกระทั่งปรากฎร่องรอยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย และนำไปสู่โรคอันตรายอื่นอีก เช่นโรคของหลอดเลือดสมองโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต ซึ่งผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด(ปิยะมิตร ศรีธาราและคณะ,๒๕๕๑)เพราะฉะนั้นการตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่เริ่มแรกและได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง รวมทั้งการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพจะสามารถควบคุมโรคและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ การปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยลดอาหารเค็มและไขมันสูง การควบคุมความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ลดการดื่มแอลกอฮอล์งดบุหรี่ เป็นการช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายซึ่งเป็นกิจกรรมการออกแรงเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น ข้อต่อส่วนต่างๆของร่างกายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอจึงจะ เป็นการเสริมสร้างสุขภาพให้แข้งแรงยิ่งขึ้นหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพของร่างกายและลดระดับความดันโลหิตได้(สุรเกียรติ อาชานุภาพ,๒๕๕๐) จากการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลของชุมชนหมู่ที่ ๘ บ้านกลางนา ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี ๒๕๕๘ จำแนกตามปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยพบว่าประชากรดังกล่าวที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๒๘ คน จาก๑๒๘ คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๙.๑๘ และจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าจีนพบอัตราอุบัติการณ์ของประชากรหมู่ที่ ๘ บ้านกลางน่าจำแนกตามเรื้อรัง พบว่า ในปี ๒๕๕๘ โดยส่วนใหญ่ประชากรป่วยโ้ดยโรคความดันโลหิตสูงอัตราความชุกเทากับ ๕๒.๗๓ ต่อพันประชากร ซึ่งพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมเสี่ยงในการดำเนินชีวิต เช่น การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็ม) เช่น แกงส้ม ปลาเค็ม การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เป็นต้น จากผลกระทบและสภาพปัญหาและสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ชุมชนหมู่ที่ ๘ บ้านกลางนา ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ร่วมกับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ร่วมจัดทำโครงการ ลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง ขึ้นเพื่อให้ประชาชนมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา ควบคุมระดับความดันโลหิตสูงให้คงที่ปกติ ไม่ส่งผลร้ายจนเกิดภาวะแทรกซ้อน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอัตราการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ปชช.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในระดับดี ร้อย 80 หลังสิ้นสุดโครงการ

ปชช.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในระดับดี ร้อย 80 หลังสิ้นสุดโครงการ

2 เพื่อให้ปชช.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการ มีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 70 หลังเสร็จสิ้นโครงการ 2 สัปดาห์

ปชช.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมดครงการ มีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 70 หลังเสร็จสิ้นโครงการ 2 สัปดาห์

3 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมในระดับมาก ร้อยละ 80

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมในระดับมาก ร้อยละ 80

4 มีผู้นำออกกำลังกายในหมู่บ้าน 2-3 ท่าน หลังสิ้นสุดโครงการ

มีผู้นำออกกำลังกายในหมู่บ้าน 2-3 ท่าน หลังสิ้นสุดโครงการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผนเตรียมการ 1.แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการประกอบด้วย นศ.และตัแทนชุมชนบ้านกลางนา ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2.ประชุมร่วมกับคณะกรรมการ ผู้นำชุมชน ตัวแทนชุมชน เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงานโครงการเพื่อเตรียมจัดดครงการ 3.เขียนโครงการ 4.นำเสนองานกับผอ.รพ.สต.บ้านท่าจีน ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อสมง และคระกรรมการจัดโครงการ 5.ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. บ้านท่าจีน และอื่นๆ 6.จัดทำหนังสือเชิญผุ้เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมโครงการ 7.ปชส.โครงการโดยปชส.ผ่านหอกระจายข่ายของชุมชน การบอกผ่านทางผู้นำชุมชน การประกาสตามชุมชน และการส่งหนังสือเรียนเชิญเข้าร่วมโครงการ 8.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำโครงการ 9.จัดเตรียมสถานที่ในการจัดทำโครงการ 10.เตรียมการแสดงเพื่อเปิดโครงการจากนักศึกษาพยาบาล วพบ.สงขลา ขั้นดำเนินการ 1.ลงทะเบียน 2.คัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชน โดยการ -ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว หาค่าดัชนีมวลกาย -คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โดยการวัดความดันโลหิต 3.การแสดงเปิดโครงการ 4.ทำแบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงก่อนเข้าร่วมโครงการ 5.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงทั้งสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม รวมถึงอาหารด้านความดันโลหิตสูงหรืออาหารDASH โดยการจัดทำแผ่นป้ายและแผ่นพับเกี่ยวกับเมนูอาหารที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชน 6.แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงกับคุณกัญฐณา ศรีชู 7.กิจกรรมออกกำลังกายในหัวข้อ บริหารกายกันสักนิด พิชิตโรคความดัน โดยมีตัวแทนนักศึกษาร่วมผู้นำออกกำลังกายของหมู่บ้าน เป็นผู้นำในการออกกำลังกายทั้งการใช้สมาธิบำบัด SKT และการบริหารสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง 8.กิจกรรมประเมินความรู้และประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโครงการ ขั้นประเมินผล 1.ประเมินผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 2.สรุปผลการประเมิน 3.จัดทำรายงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ปชช.ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันดรคความดันโลหิตสูง 2.ปชช.ที่เข้าร่วมโครงการ มีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 3.ปชช.มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ และสามารถนำสิ่งที่ได้จากโครงการไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นและเข้าร่วมโครงการอื่นๆต่อไป 4.มีผู้นำออกกำลังกายในหมุ่บ้าน 2-3 ท่าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2560 15:03 น.