กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฝากครรภ์คุณภาพตามเกณฑ์ของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่
รหัสโครงการ 60-L3027-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูม
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 109,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจ๊ะมัยซันเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูม
ละติจูด-ลองจิจูด 6.603,101.314place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน พบปัญหาอัตราการเกิดและการมีชีวิตอยู่รอดของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ระดับประเทศตั้งเป้าหมายไม่เกินร้อยละ 5 แต่พบว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนอยู่ที่ ร้อยละ 15 พบว่ามีค่าที่เกิดอยู่ 3 เท่า ขณะที่องค์การอนามัยโลกกำหนดอยู่ที่ ร้อยละ 2.5 นับเป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญของการทำงานด้านสาธารณสุข ดังนั้นงานอนามัยของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ จึงเป็นตัวบ่งชี้สภาวะสุขภาพที่มักถูกหยิบยกขึ้นเป็นตัวสะท้อนการพัฒนาด้านสุขภาพของประเทศอยู่เสมอ เพราะส่วนหนึ่งการเสียชีวิตของแม่ที่คลอดบุตรเป็นตัวบ่งบอกความเป็นอยู่ของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ รวมถึงความเพียงพอของสถานบริการด้านสุขภาพด้วย สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กในเขตพื้นที่ภาคใต้ปี 2559 โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีความน่าเป็นห่วงเข้าขั้นวิกฤตอยู่มาก เหตุเพราะอัตราส่วนการตายของมารดายังเป็นปัญหาสาธารณสุขในระดับพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยพบสูงสุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส คิดเป็นร้อยละ 82.81, 67.43 และ 63.93 ต่อแสนคนในการเกิดมีชีวิต ตามลำดับ (เกณฑ์มาตรฐาน ไม่ควรเกิน ร้อยละ 5 ต่อแสนคนในการเกิดมีชีวิต) นอกจากนี้ ยังพบว่า มารดาขาดสารอาหาร และมีภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ โดยในปี 2556 ภาพรวมของประเทศ พบว่า มารดาที่มีภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 17.1 โดยพบสูงสุดที่จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 98.4รองลงมาได้แก่ นราธิวาส 17.2และยะลา 16.1 ตามลำดับ (เป้าหมายที่กำหนด ไม่ควรเกินร้อยละ 10) ส่งผลต่อทารกแรกคลอด อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดและคลอดมาแล้วน้ำหนักน้อย
ส่วนสถานการณ์ทารกแรกคลอดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ยังมีทารกจำนวนมากที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติอย่างมาก (เกณฑ์น้ำหนักแรกคลอดต้องไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม) ซึ่งภาพรวมของประเทศ ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม อยู่ที่ร้อยละ 7.8 โดยอัตราสูงสุดอยู่ที่จังหวัดยะลา ร้อยละ 9.5 รองลงมาได้แก่ นราธิวาส 7.4 และปัตตานี 6.7 ทั้งนี้สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ในบริบทของสูติศาสตร์สมัยใหม่ และมีเพียงน้อยรายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย
จากสถานการณ์สถิติที่น่าเป็นห่วง สะท้อนถึงปัญหางานอนามัยแม่และเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ควรได้รับการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ถึงแม้ว่าตำบลเขาตูมยังไม่พบอัตราการตายของมารดาและทารก แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลถึงความปลอดภัยของอนามัยแม่และได้ ซึ่งรพ.สต.ในพื้นที่ตำบลเขาตูมมี 2 รพ.สต.คือ รพ.สต.เขาตูม มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน และ รพ.สต.บ้านจาเราะบองอ รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน จากการวิเคราะห์ของผลงานความครอบคลุมของงานอนามัยแม่และเด็กพบว่า ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก นับเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของตำบลเขาตูม มีผลงานต่ำกว่าเกณฑ์หลายตัวชี้วัด พบว่า อัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ รพ.สต.เขาตูมร้อยละ 62.64รพ.สต.บ้านจาเราะบองอ ร้อยละ 66.67 จากเกณฑ์ร้อยละ 75 และของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์รพ.สต.เขาตูมร้อยละ 83.06รพ.สต.จาเราะบองอ ร้อยละ 92.65 จากเกณฑ์ร้อยละ 95 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด รพ.สต.เขาตูมร้อยละ 8.79รพ.สต.บ้านจาเราะบองอ ร้อยละ 11.90 จากเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ10จึงเป็นที่มาของ โครงการฝากครรภ์คุณภาพตามเกณฑ์ของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีปี 2560

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่

ร้อยละ 75 ของกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการดูแลก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

2 เพื่อเพิ่มอัตราการได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่

ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมายของกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์

3 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะซีดของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่

ไม่เกินร้อยละ 10 กับอัตราการเกิดภาวะซีดของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ดังนี้
1) ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก 2) ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์และสามีเข้าร่วมกิจกรรม โรงเรียนพ่อ แม่ 3) ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการเจาะ LAB 2 ครั้งตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ ร้อยละ 100 4) ร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์มีอัตราการลดลงของภาวะซีด

4 เพื่อให้ผู้สำเร็จการอบรมที่มีความรู้เพิ่มขึ้นกับแม่หรือหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และสามีโดยโรงเรียนพ่อ แม่

ร้อยละ 80 ผู้อบรมของกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และสามี มีทั้งความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้นตลอดไป

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และ อสม.เพื่อวางแผนในการดำเนินงานในพื้นที่และจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การฝากครรภ์คุณภาพตามเกณฑ์
  2. ลงพื้นทีสำรวจข้อมูลโดย อสม.ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่อายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  3. เวทีอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่และสามีทุกคนโดยโรงเรียนพ่อ – แม่
  4. เปิดบริการฝากครรภ์ทุกวันพฤหัสบดี
  5. ทำสรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงมีครรภ์รายใหม่ ในเขตพื้นที่ตำบลเขาตูม ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75
  2. หญิงมีครรภ์รายใหม่ ในเขตพื้นที่ตำบลเขาตูม ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 95
  3. หญิงมีครรภ์รายใหม่ ในเขตพื้นที่ตำบลเขาตูม มีอัตราภาวะซีดลดลง ไม่เกินร้อยละ 10
  4. ผู้อบรมของกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และสามีมีทั้งความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้นตลอดไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2560 15:08 น.