กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.นักวิทย์ จิตอาสาคุ้มครองผู้บริโภค เทศบาลเมืองพัทลุง ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 2562-L7572-01-013
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 26,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศศิจริญญา อำม์พรพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอางที่มีความหลากหลายในปัจจุบันสำหรับผู้บริโภค เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการดำรงชีวิต หากผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านี้มีคุณภาพดีได้มาตรฐานมีความปลอดภัยจากสารเคมีปนเปื้อนที่เป็นอันตราย และการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ย่อมส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพของผู้บริโภคและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แต่ปัจจุบันพบว่ามีผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนมากมายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน แสดงฉลากไม่ถูกต้องครบถ้วน  โฆษณาสรรพคุณที่โอ้อวดเกินจริง และภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่พบมากและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในชุมชนได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร(อาหารเสริม)  เครื่องสำอาง(ครีมหน้าขาว) นอกจากนี้ในชุมชนยังพบปัญหาการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้สด การปนเปื้อนของสารสเตียรอยด์ในยากลุ่มเสี่ยง ปัญหาจากการใช้ยาชุด ยาอันตราย ยาแผนโบราณ ยาควบคุมพิเศษ ซึ่งล้วนเป็นปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน  นอกจากนี้การโฆษณาเกินจริงในสื่อออนไลน์ มีช่องทางหาซื้อได้ง่าย และมีผลิตภัณฑ์กระจายอยู่ในชุมชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้มีผู้ป่วยที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านี้เพิ่มขึ้น

โดยสถานการณ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากอาหารและยากลุ่มเสี่ยง ที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นเพื่อให้การกำกับดูแล มีความเข้มข้นในการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในผักและผลไม้สด และการปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ ยากลุ่มเสี่ยง เทศบาลเมืองจึงเล็งเห็นความสำคัญในการสุ่มตรวจแบบเชิงรุกและการตรวจเฝ้าระวังเชิงรับ ในพื้นที่ โดยการสร้างแกนนำของชุมชนให้สามารถเฝ้าระวังชุมชน และประชาชนในความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญโดยตรงตามนโยบายในส่วนของ “ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ภายใต้การทำงานอย่างบูรณาการของภาคีเครือข่ายสุขภาพทั้งท้องถิ่น ภาครัฐ และภาคประชาชน อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำ “โครงการ อสม.นักวิทย์ จิตอาสาคุ้มครองผู้บริโภค เทศบาลเมืองพัทลุง  ปีงบประมาณ ๒562” ขึ้น ทั้งนี้เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับแกนนำของประชาชน คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เสริมความรู้และทักษะให้เป็นแกนนำสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในชุมชน สามารถให้คำแนะนำและให้ความรู้ในการอ่านฉลากและเลือกซื้อและเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทต่างๆ ที่ถูกต้องแก่คนในชุมชนหรือบุคคลทั่วไปได้ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน โดยร่วมกับเจ้าพนักงานให้บริการเชิงรุกในการสำรวจ ตรวจสอบ เฝ้าระวังและแก้ปัญหาด้านสุขภาพในชุมชนเบื้องต้นได้
      อีกทั้งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือของภาคีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค คปสอ.เมืองพัทลุง และเป็นประเด็นวาระของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ (พชอ.) จึงพัฒนารูปแบบการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ให้เกิดระบบการตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพด้านสุขภาพในพื้นที่และสามารถแจ้งเตือนภัยด้านสุขภาพได้อย่างรวดเร็วสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดย อสม. เพื่อประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในเขตเมือง ให้มีความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อบรมเชิงปฏิบัติการ และให้ความรู้แก่อสม. จนท.เทศบาลเมืองพัทลุงและเครือข่าย

ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป้าหมายมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน   กรอบการประเมินมาตรฐาน อสม.นักวิทย์ จิตอาสาคุ้มครองผู้บริโภค เทศบาลเมืองพัทลุง 1. ด้านความรู้ วัดผลตามหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม อสม.ก่อน-หลัง ฝึกอบรม
2. ด้านทักษะความสามารถในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขคุ้มครอง
              - ตรวจพิสูจน์ยาฆ่าแมลงในผัก  และสารบอแรกซ์  ฟอร์มาลิน  สารกันรา สารฟอกขาว ที่อยู่ในอาหาร               - ตรวจสารโพลาร์น้ำมันทอดซ้ำ
              - ทดสอบสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ               - ให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการบริโภค

0.00
2 จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

มีหน่วยปฏิบัติการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน เทศบาลเมืองพัทลุง อย่างน้อย 1 หน่วย

0.00
3 ครัวเรือนเป้าหมายได้รับการสำรวจการใช้ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

สำรวจการใช้ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ จำนวน 1,500 ครัวเรือน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,500.00 3 25,105.00
11 ก.พ. 62 อบรมเชิงปฏิบัติการ และให้ความรู้แก่ อสม. 0 18,500.00 13,000.00
1 - 31 มี.ค. 62 จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการคุ้มครองผู้บริโภค 0 3,000.00 5,805.00
1 มี.ค. 62 - 30 มิ.ย. 62 สำรวจการใช้ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในครัวเรือนเป้าหมาย 0 0.00 -
1 มี.ค. 62 - 31 พ.ค. 62 ร่วมกับเจ้าพนักงาน ดำเนินการสำรวจร้านชำ และร้านขายของสด และตลาด 0 0.00 -
3 พ.ค. 62 - 2 ส.ค. 62 - ประชุมสรุปผลการสำรวจการใช้ยา ดำเนินการตรวจสอบร้านชำและร้านขายของสดและตลาด 0 4,500.00 6,300.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 ดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซ้ำทุก ๆ 3 เดือน 0 0.00 -
30 ก.ย. 62 สรุปผลการดำเนินงาน 0 500.00 -

๑. จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการอสม.นักวิทย์ จิตอาสาคุ้มครองผู้บริโภค เทศบาลเมืองพัทลุง ปีงบประมาณ 2562

๒. เสนอโครงการและแผนปฏิบัติการ เพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน

๓. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย อสม. นักวิทย์ จิตอาสาคุ้มครองผู้บริโภค

๔. อบรมเชิงปฏิบัติการ และให้ความรู้แก่ อสม. จนท.เทศบาลเมืองพัทลุงและเครือข่าย

๕. สำรวจการใช้ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในครัวเรือนเป้าหมาย

๖. ร่วมกับเจ้าพนักงาน ดำเนินการสำรวจร้านชำ และร้านขายของสด และตลาด ตรวจและส่งตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ  ทั้ง ตรวจพิสูจน์ยาฆ่าแมลงในผัก และสารบอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารกันรา สารฟอกขาว ที่อยู่ในอาหาร
ตรวจสารโพลาร์น้ำมันทอดซ้ำ และทดสอบสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ

๗. จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

๘. ดำเนินการตรวจสอบร้านชำและร้านขายของสดและตลาดทุกเดือน และดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ  ซ้ำทุก ๆ 3 เดือน

๙. ประชุมปฏิบัติการสรุปผลการสำรวจการใช้ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในครัวเรือนเป้าหมาย

๑๐. สรุปผลการดำเนินงานจัดทำรูปเล่ม รายงานผลหน่วยสนับสนุนงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ชุมชนมีการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน โดยชุมชน และเพื่อประชาชนในชุมชน เกิดระบบ การตรวจและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน เขตพื้นที่เทศบาลเมืองพัทลุง และสามารถแจ้งเตือนภัยด้านสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2562 14:42 น.