กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอ้วนจ๋าลาก่อน ในเด็กนักเรียน หมู่ที่ 1 ตำบลปากแตระ
รหัสโครงการ 60-l5224-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนด
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนด
พี่เลี้ยงโครงการ นายเดชธีรัตม์ พิกุลกาญจนธานี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.766,100.358place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยที่กำลังพัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทำให้วิถีชีวิตของคนไทยแต่เดิมที่มีความเรียบง่ายเปลี่ยนไปสู่ความเป็นสังคมเมืองที่มีความเร่งรีบ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อแบบแผนการบริโภคอาหารของครอบครัว เป็นอย่างมาก การบริโภคอาหารที่อาศัยความรวดเร็วเพื่อการต่อสู่กับการดำรงชีวิต ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในการบริโภคอาหาร ได้แก่ อาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทอย่างมากโดยเฉพาะในวัยเด็ก ซึ่งอาหารประเภทนี้ประกอบด้วยแป้ง ไขมันและน้ำตาลสูง จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัยและอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทำให้เด็กไทยมีการเคลื่อนไหวและมีการออกกำลังกายน้อยลง ทำให้ร่างกายมีการสะสมของไขมันมาก ผลกระทบที่จะเห็นได้ชัดเจนคือเด็กไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้น องค์กรระหว่างประเทศร่วมกับองค์การอนามัยโลกได้ทำการสำรวจและสรุปสถิติเด็กอ้วน ปี พ.ศ. 2553 ทั่วโลก พบว่ามีเด็กที่มีภาวะอ้วนจำนวน 155 ล้านคนในจำนวนดังกล่าวมีเด็ก 30– 45ล้านคนเป็นวัยเรียนอายุ 6– 12 ปี และปัจจุบันพบเด็กที่มีน้ำหนักเกินกว่าปกติมากกว่า 22 ล้านคนทั่วโลก เป็นเด็กในเขตเมือง ร้อยละ 8.1 เด็กชนบทร้อยละ 31 และใน 10 ปีข้างหน้าประมาณว่าอัตราเด็กที่เป็นโรคอ้วนจะเพิ่มเป็น 2 เท่า โดยปี พ.ศ. 2563เด็กชายวัยเรียนร้อยละ 16.7 และเด็กหญิงวัยเรียนร้อยละ 9.7 เป็นโรคอ้วน โครงการวิจัยพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย ปีพ.ศ. 2544 พบว่าเด็กไทยอายุ 2– 18ปี จำนวน 17.2 ล้านคนเป็นเด็กเริ่มอ้วน และอ้วนจำนวน 1.27ล้านร้อยละ 7.83 ( เครือข่ายวิจัยสุขภาพมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2550) โดยมีเด็กวัยเรียนอายุ 6 – 13 ปี เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 5.38 ในปี พ.ศ. 2539 –2540 เป็นร้อยละ 6.73 ในปี พ.ศ.2544 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.85 ในระยะเวลา 5 ปี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขพบว่าในปี พ.ศ. 2558จะมีเด็กอ้วน 1 ใน 10 ของเด็กวัยเรียน มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารขยะ เช่น แฮมเบอร์เกอร์ มันฝรั่ง โซดา ขนมเครื่องดื่มอัดลม เป็นต้น และเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากครอบครัวจากการวิจัยในรอบ 3 ปี (พ.ศ. 2547– 2550 ) พบว่า มีเด็กวัยเรียนติดอาหารรสหวาน มัน เค็มเด็กรับประทานขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเป็นประจำเพิ่มขึ้นถึง 1.8 และ 1.5 เท่า รวมทั้งมีการรับประทานผักแค่เพียงวันละ1.5ช้อนโต๊ะซึ่งควรกินไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าการเกิดโรคอ้วนในกลุ่มเด็กวัยเรียนมีอัตราที่สูงและคาดว่าจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ส่งผลทำให้เกิดปัญหาระยะยาวได้ จากผลการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กนักเรียนกลุ่มงานอนามัยโรงเรียน คลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนด ปี พ.ศ.2559 มีเด็กที่อ้วนและเริ่มอ้วน จำนวน 118 คิดเป็นร้อยละ 37.57 จากสถานการณ์ดังกล่าวคลินิกใกล้ใจโรงพยาบาลระโนดและองค์การบริหารส่วนตำบลปากแตระ ได้จัดโครงการอ้วนจ๋าล่าก่อนขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดในการจัดทำโครงการกับคณะทำงาน เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง พร้อมแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายประชากรเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดตะพังหม้อ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่6 ที่มีภาวะโรคอ้วน
  3. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล ปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านทางหอกระจายข่าว และไวนิลในชุมชน ผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมวัสดุอุปกรณ์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคอ้วนและควบคุมน้ำหนักตัวได้
  2. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นบุคคลต้นแบบทางด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมตามช่วงวัย
  3. โรงเรียนและชุมชน ครอบครัวมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กที่มีภาวะอ้วนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  4. โรงเรียนและชุมชน ครอบครัวมีการเฝ้าระวังภาวะอ้วนในเด็กเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมตามช่วงวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2560 14:05 น.