กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
รหัสโครงการ 62-L5251-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาเขต
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 7,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาลีหย๊ะ หง๊ะจะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 86 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไตวายเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มอัตราการเสียชีวิต เมื่อโรคดำเนินไปสู่ระยะที่ 5 และเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end stage renal disease : ESRD) จะทำให้การพยากรณ์ของโรคแย่ลง มีอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ตลอดจนค่ารักษาเพิ่มขึ้นมาก จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ได้แก่ การฟอกด้วยเครื่องไตเทียม การล้างของเสียทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง และการปลูกถ่ายไต ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและครอบครัว และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง ค่าการบำบัดทดแทนไตเฉลี่ย 250,000 บาทต่อคนต่อปี     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาเขต มีผู้ป่วยมีภาวะไตวายเรื้อรัง ทั้งหมดจำนวน 86 ราย อยู่ในระยะที่ 1-2 จำนวน 48 ราย (ร้อยละ 55.8) อยู่ในระยะที่ 3-5 จำนวน 38 ราย (ร้อยละ 32.68) ผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังควรได้รับความรู้เรื่องชะลอไตวายเรื้อรัง ได้แก่การให้ความรู้เรื่องอาหาร และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม การหลีกเลี่ยง ยาและอาหารที่มีผลต่อไต การดูแลสุขภาพทางกายและใจที่เหมาะสม จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าการสูญเสียทรัพยากรไปใช้ในการรักษาระยะท้ายของโรค     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาเขตได้เห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง และการชะลอไตเสื่อม ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคที่เป็น ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีการจัดการตนเองอย่างเหมาะ จึงได้จัดทำโครงการรักษ์ไต ชีวิตสดใส ชะลอไตวายเรื้อรัง โดยมีเป้าหมายเพื่อชะลอโรคไตวายเรื้อรัง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมถึงช่วยลดต้นทุนในการดูแลสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีความรู้เพียงพอในการจัดการตนเองเกี่ยวกับโรคที่เป็น
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็น โดยประเมินความรู้จากแบบทดสอบ pretest , post-test
1.00
2 2 ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
  1. ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมาย มีอัตราการลดลงของอัตราการกรองของไต (GFR) < 4
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแผนงานโครงการ 1.2 จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม 1.3 ประสานงานกับภาคีเครือข่ายในชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ 1.4 จัดทำสื่อเอกสาร แผ่นพับให้ความรู้ และป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. ขั้นดำเนินงาน     2.1 ทำแบบทดสอบก่อนอบรม (pretest) 2.2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองเพื่อชะลอการเสื่อมของไต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน    ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
        2.3 ทำแบบทดสอบก่อนอบรม (postest) 2.2 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีความรู้สามารถดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมระยะสุดท้ายได้
    1. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถชะลอไตเสื่อมได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2562 11:19 น.