กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
รหัสโครงการ 62-L5251-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสำนักขาม
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 198,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุวีณา ขวัญหมัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2561 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 18 กันยายน 2561) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 57,129 ราย อัตราป่วย 86.48 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมากกว่าปี พ.ศ. 2560 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 56.5 (1.5 เท่า) ผู้ป่วยเสียชีวิต 71 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.12 และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลสำนักขาม ตั้งแต่ พ.ศ 2559 -2561 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 39,90 และ 24 รายตามลำดับ อัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุดเท่ากับ 273.28 , 630.65 และ168.17 ตามลำดับ (ที่มา : ระบบสารสนเทศโรคที่ต้องเฝ้าระวัง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา) ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสำนักขาม จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น         ในช่วงฤดูฝนของทุกปี จะเป็นฤดูที่มีการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายสูงสุด เนื่องจากฝนที่ตกมาทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้จำนวนยุงลายเพิ่มมากกว่าช่วงอื่นๆ ของปี ดังนั้นโรคที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้ คือ โรคที่มียุงลายเป็นพาหะเช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่แม้ว่าปัจจุบันจะมีแนวโน้มผู้ป่วยลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ยังคงวางใจไม่ได้ต้องดำเนินการเฝ้าระวังควบคุมโรคอย่างเข้มข้นต่อไป กระทรวงสาธารณสุข แนะมาตรการ “3 เก็บ 3 โรค” ได้แก่ 3 เก็บ ในมาตรการนี้มุ่งเน้นไปที่การควบคุมยุงลายไม่ให้แพร่พันธุ์ และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ต้องเก็บสิ่งต่างๆ ดังนี้
          1.เก็บบ้าน บ้านที่เป็นระเบียบร้อยนอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ก็ยังทำให้บรรยากาศมีความปลอดโปร่ง จึงไม่มีที่ให้ยุงลายไปหลบซ่อนอยู่
          2.เก็บขยะ กองขยะในบ้านนอกจากจะดูไม่สวยงามแล้ว เมื่อฝนตกลงมาอาจเกิดน้ำขังและกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ในที่สุด
          3.เก็บน้ำ แหล่งน้ำในบ้านนั้นอาจกลายเป็นที่ที่ยุงลายใช้แพร่พันธุ์ได้หากไม่ดูแลให้ดี โดยเฉพาะแหล่งน้ำนิ่งที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ต้องปิดให้มิดชิด เปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอ หรือเลี้ยงปลาหางนกยูงในแหล่งน้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุง 3โรค
        การปฏิบัติตามมาตรการนี้จะช่วยป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะทั้ง 3 โรคได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ซึ่งการป้องกันควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกวางขวาง ได้แก่การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้า ที่มนุษย์สร้างขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศ ทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านั้นทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเป็นไปอย่างรวดเร็ว
        ด้วยเหตุนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสำนักขาม จึงจัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เพื่อควบคุมและป้องกันโรค ล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค โดยอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ร่วมกันรณรงค์ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความปลอดภัยต่อโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคในช่วงก่อนและช่วงหลังการระบาดของโรค

อัตราป่วยด้วยโรคที่มียุงลายเป็นพาหะลดลง  และไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

1.00
2 2. เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน และลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สามารถดำเนินการควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคได้ โดยวัดจาก - ในโรงเรียน สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในทุกโรงเรียนให้ครอบคลุมร้อยละ 100 โดยแต่ละโรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=0) - ในชุมชน สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในทุกครัวเรือนให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 โดยให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI ไม่เกิน 10 )

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 28000 198,750.00 2 118,750.00
1 พ.ค. 62 1.รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเพื่อป้องกันและควบคุมโรค (Big Cleanning) 14,000 118,750.00 118,750.00
1 พ.ค. 62 2.กิจกรรมพ่นสารเคมีป้องกันและควบคุมโรค 14,000 80,000.00 0.00
  1. จัดประชุมวางแผนการดำเนินงาน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาเขต และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาอุทิศ โดยเชิญผู้นำชุมชน อสม. ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ประกอบการ ร่วมหารือการดำเนินงาน
    2.จัดกิจกรรมรณรงค์ควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ในชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน และสถานที่ราชการ     - รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน และสถานที่ราชการ โดยหลัก 3 เก็บ 3 โรค และใช้ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำ     - ควบคุมทำลายตัวแก่โดยการพ่นสารเคมีด้วยการพ่นหมอกควัน หรือการพ่นฝอยละออง ก่อนการระบาดของโรคและช่วงการระบาดของโรค
  2. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานควบคุมโรคผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมที่สุด 4.สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะ และประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
  2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ และประชาชนในตำบลสำนักขาม เห็นความสำคัญของปัญหา ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2562 11:51 น.